List of content

    สัญญาณ Divergence คืออะไร ? รู้จัก 2 เทคนิคการดูง่าย ๆ พร้อมตัวอย่างการทำกำไร


    สัญญาณ Divergence คืออะไร ? รู้จัก 2 เทคนิคการดูง่าย ๆ พร้อมตัวอย่างการทำกำไร

    สัญญาณ Divergence คืออะไร ? สามารถทำให้เทรดเดอร์สร้างกำไรได้จริงไหม ? บทความนี้ผมจะพาทุกท่านมารู้จักสัญญาณของกราฟในการทำกำไรตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างมากในการทำกำไรก้อนโต โดยมันถูกเรียกในวงการเทรดเดอร์ว่าการเกิด "สัญญาณ Divergence" ซึ่งเป็นสัญญาณการกลับตัวของเทรนด์ เทรดเดอร์หลาย ๆ คนนำวิธีนี้ไปปรับใช้ในระบบการเทรดของตัวเอง และสามารถทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ หากคุณพร้อมแล้ว มาเริ่มทำความรู้จักได้เลยครับ

     

    สัญญาณ Divergence คืออะไร ?

    ปกติแล้วเทรดเดอร์สามารถทำกำไรได้จากการดูสัญญาณหลากหลายรูปแบบ โดยสัญญาณ Divergence ก็เป็นวิธีที่เทรดเดอร์หลายคนนิยมใช้กัน ซึ่งสัญญาณ Divergence เป็นการบ่งบอกถึง "สัญญาณการกลับตัวของเทรนด์"

    วิธีการดูง่าย ๆ คือการดูกราฟราคาสินทรัพย์นั้น ร่วมกับ Indicator เพื่อหาทิศทางที่ 2 สิ่งนี้เคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกัน เพื่อให้คุณสามารถทำกำไรก้อนใหญ่ได้ การเทรดโดยสังเกตดูสัญญาณ Divergence อีกข้อดีคือ คุณแทบจะสามารถซื้อหรือขายสินทรัพย์นั้น ๆ ได้ในราคาดีที่สุดของเทรนด์เลยก็ว่าได้

     

    ตัวอย่างการเกิดสัญญาณ Divergence

    ตัวอย่างของการเกิด Divergence จะเห็นได้จากการที่กราฟของสินทรัพย์ที่คุณกำลังเทรดอยู่ในช่วงเทรนด์ขาขึ้น แล้วสักพักราคามีการกลับตัวกะทันหัน ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าราคาอาจจะกลับมาเป็นเทรนด์ขาลง คุณก็สามารถเปิดคำสั่ง Sell ไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้

    ในทางกลับกัน เมื่อสินทรัพย์ที่คุณเทรดมีลักษณะกราฟเป็นช่วงเทรนด์ขาลง แล้วสักพักราคาได้เกิดสัญญาณ Divergence คุณก็สามารถคาดการณ์ได้ว่า กราฟเทรนด์ขาลงกำลังจะจบแล้ว และวิเคราะห์ได้ว่าราคาอาจจะกลับมาเป็นเทรนด์ขาขึ้น คุณจึงใช้โอกาสนี้ในการเปิดคำสั่ง Buy ไว้รอได้เลย

    โดยลักษณะกราฟของการเกิดสัญญาณ Divergence จะมีลักษณะ ดังนี้

    สัญญาณ Divergence การกลับตัวของเทรนด์

     

    จะสังเกตได้ว่า หากสัญญาณ Divergence อยู่ใน Timeframe ใหญ่ ก็ถือว่าเป็นการเพิ่มความมั่นใจขึ้นไปอีกระดับหนึ่งว่าสัญญาณ Divergence ครั้งนี้จะมีโอกาสสูงที่ทำให้กราฟสามารถกลับตัวได้ ซึ่งหากคุณดูการเกิดสัญญาณ Divergence เป็นแล้ว มันจะช่วยทำให้คุณสามารถลดความเสี่ยงในการขาดทุนลงไปได้ค่อนข้างมาก และทำให้คุณสามารถสร้างกำไรได้มากเช่นกัน

    แต่ก่อนที่คุณจะนำเทคนิคการดูสัญญาณ Divergence ไปใช้ คุณจะต้องรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเกิด สัญญาณ Divergence กันก่อน เพื่อลดความผิดพลาดในการมองสัญญาณ Divergence ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยครับ

     

    รูปแบบของสัญญาณ Divergence 

    การที่เราจะตัดสินใจในการออกออเดอร์แต่ละครั้งนั้น เทรดเดอร์ต้องใช้เทคนิคร่วมกับการวิเคราะห์ตามสไตล์การเทรดของตนเอง จากนั้นต้องเรียนรู้จนเกิดความชำนาญก่อนนำไปฝึกใช้จริง ทำให้สามารถสร้างกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ โดยการดูสัญญาณ Divergence สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ครับ

     

    สัญญาณ Divergence แบบปกติ (Regular Divergence)

    Divergence แบบปกติ จะใช้ในการบอกว่า กราฟอาจจะมีการกลับตัวของเทรนด์ในอีกไม่นานนี้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับกรอบเวลา (Timeframe) หากว่าใช้กรอบเวลาที่เล็ก ๆ อย่าง 1-15m จะใช้เวลาในการเกิดการกลับตัวเร็ว แต่หากว่าใช้กรอบเวลาที่ใหญ่ขึ้นมาอย่าง 30m - 4h จะค่อนข้างใช้เวลานานในการเกิดการกลับตัว โดย Divergence แบบปกติสามารถที่จะแบ่งออกได้ 2 สัญญาณ ดังนี้

    1. Bullish Divergence 

    ถ้ากราฟราคาเกิดรูปแบบ Lower Lows (LL), แต่ว่าตัว Oscillator เกิด Higher Lows (HL) เราเรียกลักษณะการเกิดแบบนี้ว่า Bullish Divergence หรือว่าสัญญาณการเกิด "สัญญาณ Divergence ขาขึ้นแบบปกติ" ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการจบเทรนด์ขาลง

    ตัวอย่างกราฟการเกิด Bullish Divergence

    สัญญาณ Regular Bullish Divergence

     

    2. Bearish Divergence

    ถ้าราคาได้เกิด Higher High (HH) แต่ว่าตัว Oscillator กลับเกิด Lower High (LH) คุณก็จะได้สัญญาณ Bearish Divergence หรือ "สัญญาณ Divergence ขาลงแบบปกติ" โดย Divergence ลักษณะนี้สามารถพบได้ในขาขึ้น หรือหลังจากที่ราคาเกิดราคาสูงสุดครั้งใหม่ ถ้าตัว Oscillator เกิด Lower High คุณอาจจะคาดการณ์ได้ว่าราคากำลังจะเกิดจุดกลับตัวและร่วงลงมา

    ตัวอย่างกราฟการเกิด Bearish Divergence

    สัญญาณ Regular Bearish Divergence

    หมายเหตุ: การเกิด Divergence แบบปกติเหมาะสำหรับการเข้าซื้อขายออเดอร์ในจุดที่ต่ำสุดหรือสูงสุด ซึ่งคุณจะใช้การมองว่าจุดไหนอาจจะเป็นจุดกลับตัว ส่วนตัวสัญญาณ Oscillator นั้น ถ้าเริ่มมีการเกิดสัญญาณ Divergence แล้ว ถึงแม้พฤติกรรมของราคายังจะเกิด Higher High or Lower Low นั่นหมายความว่าเทรนด์อาจจะไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้

     

    สัญญาณ Divergence แบบแฝง (Hidden Divergence)

    Divergence แบบแฝง (Hidden Divergence) ใช้บ่งบอกสัญญาณจุดกลับตัวของราคาได้ รวมทั้งใช้ในการบอกสัญญาณว่าจะเกิดเทรนด์ต่อเนื่องได้อีกด้วย และผมอยากให้คุณจำไว้อยู่เสมอว่าเทรนด์เป็นเสมือนเพื่อนสนิทในการเทรดของคุณ ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณได้สัญญาณว่าจะเกิดเทรนด์อย่างต่อเนื่อง คุณก็ควรจะรู้ว่าต้องทำอย่างไรกับมัน โดย Hidden Divergence สามารถที่จะแบ่งออกเป็น 2 สัญญาณ ดังนี้

    1. Hidden Bullish Divergence 

    Hidden Bullish Divergence หรือ Divergence แบบแฝง จะเกิดขึ้นเมื่อราคาได้เกิด Higher Low (HL) (การปิดสูงกว่าราคา Low) แต่ว่าตัว Oscillator กลับให้สัญญาณ Lower Low (LL) สัญญาณนี้หมายความว่าราคาของสินทรัพย์นั้น กำลังจะเปลี่ยนเป็นเทรนด์ขาขึ้น

    ตัวอย่างกราฟการเกิด Hidden Bullish Divergence

    สัญญาณการเกิด Hidden Bullish Divergence

     

    2. Hidden Bearish Divergence

    เมื่อราคาเกิด Higher Low ให้จับตาดูว่าตัว Oscillator จะมีความเคลื่อนไหวคล้ายกันหรือไม่ แต่ถ้าตัว Oscillator ไม่ได้เกิดสัญญาณ Lower Low คุณก็จะได้สัญญาณ Hidden Divergence หรือสัญญาณ Divergence แฝงมา ซึ่งรูปแบบนี้จะเกิดเมื่อตลาดให้สัญญาณ Lower High (LH) แต่ตัว Oscillator กำลังทำรูปแบบ Higher High (HH) คุณอาจจะคิดว่าเป็นรูปแบบของเทรนด์ขาลง เมื่อคุณเจอรูปแบบ Hidden Bearish Divergence จะหมายความว่า โอกาสที่ราคาจะเคลื่อนไหวในทิศทางขาลงอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นไปได้สูง

    นอกจากนี้ถ้าคุณเล่นแบบ Trend Follower (เทรดตามเทรนด์) ทีมงานแนะนำให้คุณศึกษารูปแบบ Hidden Divergence ร่วมด้วย เพราะถ้าคุณเข้าใจในการดูสัญญาณการเกิด Hidden Divergence มันอาจจะช่วยคุณเข้าเทรนด์ในช่วงที่กำลังเกิดเทรนด์ได้ ซึ่งตอนนี้คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิด Divergence แบบปกติและแบบแฝงจากบทความนี้แล้ว ผมหวังว่าคุณจะสามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้างผลกำไรจากการดูสัญญาณ Divergence และให้จำไว้เสมอว่า Regular Divergence เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจจะเกิดจุดกลับเทรนด์ ส่วน Hidden Divergence เป็นสัญญาณว่าเทรนด์จะยังคงไปต่อ

     

    อินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการหาสัญญาณ Divergence

    Divergence เป็นสัญญาณที่จำเป็นที่จะต้องใช้อินดิเคเตอร์ในการช่วยหา เนื่องจากกราฟราคาไม่สามารถที่จะให้สัญญาณดังกล่าวได้เอง โดยเทรดเดอร์สามารถที่จะหาสัญญาณ Divergence ได้จากอินดิเคเตอร์เหล่านี้

     

    Relative Strength Index (RSI)

    RSI ย่อมาจาก Relative Strength Index เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคประเภทโมเมนตัม (Momentum) ที่ใช้วัดความเร็วและการเปลี่ยนแปลงของการเคลื่อนไหวราคาของสินทรัพย์

    โดย RSI จะวัดค่าจาก 0 ถึง 100

    • ค่า RSI ต่ำกว่า 30 แสดงถึงภาวะ Oversold หรือ ขายมากเกินไป
    • ค่า RSI สูงกว่า 70 แสดงถึงภาวะ Overbought หรือ ซื้อมากเกินไป

    เทรดเดอร์นิยมใช้ RSI ร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อขาย

    ตัวอย่างกราฟ Divergence RSI

    ตัวอย่างกราฟ Divergence RSI

     

    Moving Average Convergence Divergence (MACD)

    MACD ย่อมาจาก Moving Average Convergence Divergence เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคประเภทโมเมนตัม (Momentum) ที่ใช้บอกแนวโน้มของราคา และบอกได้ว่าจุดไหนควรซื้อหรือขายบ้าง

    ตัวอย่างกราฟ Divergence MACD

    ตัวอย่างกราฟ Divergence MACD

     

    Stochastic Oscillator (Stoch)

    Stochastic Oscillator (Stoch) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคประเภทโมเมนตัม (Momentum) ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาเพื่อหาจุดซื้อขาย

    ตัวอย่างกราฟ Divergence Stoch

    ตัวอย่างกราฟ Divergence Stoch

     

    Awesome Oscillator (AO)

    Awesome Oscillator (AO) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคประเภทโมเมนตัม (Momentum) ใช้วัดความแรงและทิศทางของโมเมนตัมของตลาด  

    AO คำนวณจากความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย (SMA) ระยะสั้น 5 ช่วง และ SMA ระยะยาว 34 ช่วง ค่า AO ที่แกว่งไปมาระหว่างค่าบวกและค่าลบ แสดงถึงความแข็งแกร่งของโมเมนตัมขาขึ้นและขาลง

    โดยสัญญาณจาก AO จะบ่งบอก ดังนี้

    • ค่า AO ที่เพิ่มขึ้น : บ่งบอกถึงโมเมนตัมขาขึ้นที่แข็งแกร่ง สัญญาณซื้อที่อาจเกิดขึ้น
    • ค่า AO ที่ลดลง : บ่งบอกถึงโมเมนตัมขาลงที่แข็งแกร่ง สัญญาณขายที่อาจเกิดขึ้น

    ตัวอย่างกราฟ Divergence AO

    ตัวอย่างกราฟ Divergence AO

    จะสังเกตได้ว่าอินดิเคเตอร์ทั้ง 4 ตัวที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้น เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ทั้งหมด แต่มีเพียงตัวเดียวไม่ได้แสดงผลในรูปแบบ "เส้น" นั่นก็คือ Awesome Oscillator ซึ่งจะสามารถที่จะให้สัญญาณ Divergence ได้เหมือนกันกับตัวอื่น ๆ รวมทั้งสามารถให้สัญญาณ Overbought/Oversold ได้ดีกว่าอินดิเคเตอร์อื่น ๆ อีกด้วยครับ

     

    ข้อควรระวังในการใช้สัญญาณ Divergence

    สัญญาณต่าง ๆ ในตลาด เป็นเพียงแค่หนึ่งในสัญญาณที่จะทำให้เทรดเดอร์สามารถที่จะคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับกราฟเบื้องต้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ควรที่จะคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยข้อควรระวังของสัญญาณ Divergence มีดังต่อไปนี้

    1. Divergence ไม่ได้กลับตัวทุกครั้งหรือกลับตัวทันที

    การที่กราฟได้เกิดสัญญาณ Divergence นั้น ไม่ได้แปลว่าราคาจะเกิดการกลับตัวในทุก ๆ ครั้ง หรือจะกลับตัวในทันที การที่ Divergence จะเกิดการกลับตัวนั้นจะต้องพึ่งปัจจัยหลายอย่าง เช่น การเกิด Price Action ที่บริเวณแนวรับ-แนวต้าน เป็นต้น และหากว่าในช่วงนั้นมีปัจจัยพื้นฐานแทรกเข้ามา การเกิดสัญญาณ Divergence แทบจะไม่มีผลกับกราฟเลย

    2. คาดเดาว่าจะเกิด Divergence 

    การคาดการณ์ หรือการคาดเดาเป็นนิสัยปกติของเทรดเดอร์ แต่สำหรับ Divergence เทรดเดอร์ไม่ควรที่จะคาดการณ์ว่ากราฟกำลังจะเกิดสัญญาณ Divergence และทำการเข้าเทรดเพื่อดักหน้าราคาไปก่อน การกระทำแบบนี้จะทำให้เทรดเดอร์เสียนิสัย และยังทำให้ขาดทุนเป็นจำนวนมากได้

     

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Divergence

    Q : สัญญาณ Divergence Convergence คืออะไร ?

    สัญญาณ Divergence คือสัญญาณการกลับตัว สังเกตได้จากเมื่อกราฟราคา และอินดิเคเตอร์เคลื่อนที่ตรงข้ามกัน ส่วน Convergence คือสัญญาณที่บอกว่าราคามีโอกาสที่จะไปต่อในแนวโน้มเดิม สังเกตได้จากเมื่อกราฟราคาและอินดิเคเตอร์เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน

    Q : Divergence และ Convergence แปลว่าอะไร ?

    Divergence แปลว่า ความแตกต่าง ส่วน Convergence แปลว่า การบรรจบกัน

    Q : Divergence Forex คืออะไร ? 

    สัญญาณที่บ่งบอกถึงการกลับตัวในตลาด Forex 

     

    สรุป สัญญาณ Divergence 

    Divergence คือ สัญญาณการกลับตัวของกราฟราคา ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ Regular Divergence และ Hidden Divergence ซึ่ง Hidden Divergence เป็นการส่งสัญญาณให้เทรดเดอร์ได้ทราบว่ากราฟพร้อมที่จะวิ่งไปต่อในเทรนด์ดังกล่าว ซึ่งจะต่างกับ Divergence แบบปกติ โดยมีข้อสังเกตสำคัญคือ กราฟจะต้องเกิดที่บริเวณแนวรับ-แนวต้าน และอินดิเคเตอร์ต้องเกิดการขัดแย้งกันกับทิศทางของราคา และเกิดในช่วง Overbought/Oversold ถึงจะเป็นสัญญาณที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

    อย่างไรก็ตาม การเทรด Forex นั้น ไม่ได้พึ่งพาแค่การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือทางปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพา "วินัย" อีกด้วย เนื่องจากวินัยเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เทรดเดอร์ไปสู่ความสำเร็จนั่นเองครับ

    ______________________________

     

    สุดท้ายนี้ การลงทุนทุกรูปแบบล้วนมีความเสี่ยง อยากให้คุณศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์นั้นให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน และหากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม สามารถติดตาม ThaiForexReview

    ติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดการลงทุนได้ที่ : News

    อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ : Blogs

    รีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยม : Top Brokers

     

    forex
    beginner
    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    ความรู้ Forex

    Forex

    Gold

    Beginner

    Investing

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved