List of content
Bollinger Bands คืออะไร? ใช้วิเคราะห์อย่างไรในตลาด Forex
อินดิเคเตอร์ เครื่องมือช่วยในการเทรด Forex มีอยู่มากมายหลากหลายตัว สามารถที่จะช่วยให้เทรดเดอร์วิเคราะห์ราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในวันนี้ Thaiforexreview จะพาเทรดเดอร์ทุกคนมารู้จักกับอินดิเคเตอร์ประเภท Trend อีกตัวหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมในหมู่อินดิเคเตอร์ Forex นั่นก็คืออินดิเคเตอร์ Bollinger Bands จะพาไปดูว่า Bollinger Bands มีวิธีการใช้งานอย่างไร และมีประโยชน์กับเทรดเดอร์มากน้อยแค่ไหน ติดตามได้ในบทความนี้ครับ
Bollinger Bands คืออะไร ?
Bollinger Bands หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า BB เป็นอินดิเคเตอร์ประเภท Trend หรือแนวโน้ม ใช้ในตลาดที่มีราคาเป็นแนวโน้มเป็นหลัก โดย Bollinger Bands ถูกพัฒนาขึ้นโดย John Bollinger หนึ่งในนักวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีชื่อเสียง จากการนำแนวคิดของ “ความผันผวน” ในตลาด โดยสามารถที่จะแยกพฤติกรรมของราคาได้ดังนี้
-
การเกิด Break out
-
กลับตัวของราคา
-
การพักตัวของราคา
-
ระดับความผันผวนของราคา
ส่วนประกอบของ Bollinger Bands
Bollinger Bands ประกอบไปด้วยเส้น 3 เส้น ดังนี้
-
Upper Band >> SMA 20 วัน + 2 SD (Standard Deviation) หากราคาขึ้นมาถึง Upper Band แสดงว่าราคาอาจจะขึ้นมามากเกินไป หรือราคาอาจจะขึ้นมาทดสอบแนวต้าน
-
Middle Band >> SMA 20 วัน Middle Band เป็นเส้นแบ่งแนวโน้ม และเป็นจุดที่ใช้สังเกตการเกิด Break out หรือกลับตัวได้นั่นเอง
-
Lower Band >> SMA 20 วัน - 2 SD (Standard Deviation)
ค่า SD (Standard Deviation) เป็นค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เอาไว้ใช้ในการอธิบายลักษณะการกระจายของชุดข้อมูล ยิ่งค่า SD มาก แปลว่าชุดข้อมูลนั้นมีการกระจายที่มาก และหากค่า SD น้อย ก็แปลว่าชุดข้อมูลนั้นมีการกระจายที่แคบ
กลยุทธ์การใช้งาน Bollinger Bands
การใช้งาน Bollinger Bands เป็นการสังเกตความผิดปกติของกราฟเมื่อมีการนขึ้นหรือลงไปชนกับตัวเส้น Band เส้นใดเส้นหนึ่ง โดยราคาอาจจะเกิดปฏิกิริยาดังนี้
-
ราคาเกิดการกลับตัวเมื่อขึ้นหรือลงไปเมื่อชน Band เส้นใดเส้นหนึ่ง >> หลังจากที่ราคาเกิดการปะทะกันขึ้นที่เส้น Band เส้นใดเส้นหนึ่งและเกิดการเคลื่อนตัวที่ลดลง อาจจะเป็นสัญญาณการพักตัว และอาจจะกลับตัวในที่สุด
-
ราคาเกิดการ Break out ที่บริเวณเส้น Middle Band >> เส้น MIddle Band เปรียบเสมือนกับแนวต้านย่อย ที่ราคาอาจจะขึ้นไปทดสอบและอาจกลับตัวลงมาได้ แต่ถ้าหากราคาเกิดการ Break out เส้น Middle Band ขึ้นหรือลงไปแล้ว มีโอกาสที่ราคาจะมีการเปลี่ยนแนวโน้มของราคาได้
โดย Bollinger Bands จะมีข้อสังเกตอีกอย่าง คือ ความกว้างของกรอบ Bollinger Bands สิ่งนี้จะบ่งบอกถึงความผันผวนของของราคานั้น ๆ
หาก Band มีการขยายตัวกว้าง >> ความผันผวนมาก โอกาสที่ราคาจะเกิดการ Break out ในทิศทางเดิม จะมีโอกาสน้องลงตามรูปตัวอย่างข้างต้น
หาก Bollinger Bands มีการบีบตัวแคบลง >> ความผันผวนน้อย มีโอกาสที่ราคาวิ่งจะเป็น Sideway และวิ่งขึ้นลงสลับชนกันระหว่าง Upper Band และ Lower Band ตามรูปตัวอย่างข้างต้น
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งาน Bollinger Bands
-
แนวรับ-แนวต้าน >> กรอบของเส้น Band แต่ละเส้น สามารถใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านได้ทั้งหมด โดยเส้น Upper Band จะเป็นแนวต้านหลัก Middle Band จะเป็นแนวรับ/แนวต้านรอง แะล Lower Band เป็นแนวรับหลักนั่นเองครับ
-
แนวโน้มของราคา >> Bollinger Bands สามารถบอกแนวโน้มของราคาได้ ดังนี้
-
ในกรณีขาขึ้น ราคาจะมีการวิ่งอยู่ในกรอบระหว่าง Middle และ Upper Band ซึ่งการขึ้นลักษณะนี้ถือว่าเป็นการขึ้นที่แข็งแกร่งและต่อเนื่อง แต่หากว่าราคามีการลงไปชนที่ Lower Band บ้าง ก็ยังถือว่าเป็นแนวโน้มที่แข็งแกร่งน้อยลง และไม่ต่อเนื่องเท่ากับกรณีแรก
-
ในกรณีขาลงก็เหมือนกับขาขึ้น หากว่าราคามีการวิ่งอยู่ในกรอบระหว่าง Lower Band และ Middle Band แสดงว่าราคาอยู่ในช่วงขาลงอย่างแข็งแกร่ง และต่อเนื่อง แต่หากว่าราคามีการขึ้นไปชนที่ Upper Band บ้าง ก็แสดงว่าความแข็งเริ่มลดลง และความต่อเนื่องของแนวโน้มก็ลดลงไปด้วย
-
กรณี Sideway หากว่าราคามีการวิ่งไม่เป็นแนวโน้ม โดยวิ่งขึ้นลงไปชนทั้ง 3 Band ก็แสดงว่าตลาดมีความผันผวนต่ำ ทำให้ไม่สามารถที่จะเลือกทางวิ่งได้ ทำให้วิ่งอยู่แค่ในกรอบราคา Sideway เท่านั้น
-
ความผันผวนของตลาด >> อย่างที่เคยได้อธิบายไปตอนแรกว่า Bollinger Bands สามารถที่จะบ่งบอกความผันผวนของตลาดได้ จากการสังเกตความกว้างของตัว Band
-
หากว่า Band มีการขยายตัวกว้าง แสดงว่าตลาดมีความผันผวนมาก
-
หากว่า Band มีการบีบตัวแคบลง แสดงว่าตลาดมีความผันผวนที่น้อย
-
สัญญาณการ Break out >> อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าการใช้ Bollinger Bands ในการดูสัญญาณ Break out เป็นการสังเกตจากการที่ราคาทะลุเส้น Middle Band เนื่องจากว่า MIddle Band ก็ถือว่าเป็นแนวรับ-แนวต้านเช่นกัน
ข้อจำกัดของ Bolling Bands
Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่ไม่เหมาะกับการวิเคราะห์เพียงตัวเดียว จำเป็นจะต้องมีการนำสัญญาณอื่น ๆ มาช่วย Confirm ด้วย อย่างเช่นการนำ RSI (Relative Strength Index) มายืนยันว่าราคาเกิด OB/OS หรือสัญญาณ Divergence ขึ้นในจุดที่เป็นจุดนัยสำคัญ
สรุป
Bollinger Bands เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการอ่านกราฟให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากการคำนวณค่าเฉลี่ยย้อนหลังร่วมกับค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เพื่อให้เห็นความผันผวนของตลาดได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่ใช้ได้กับ Bollinger Band นั้นมีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับความถนัดของนักลงทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งตัวอย่างที่ยกมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทั้งหมดเท่านั้น เทรดเดอร์สามารถที่จะเรียนรู้ หรือประยุกต์การใช้งาน Bollinger Bands ในรูปแบบของตัวเองได้ตามที่ตัวเองเข้าใจ และอย่าลืมที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะรู้รอดในตลาด Forex ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับ
___________________________________
สุดท้ายนี้ การลงทุนทุกรูปแบบล้วนมีความเสี่ยง อยากให้คุณศึกษาพฤติกรรมของราคาสินทรัพย์นั้นให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน และหากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม สามารถติดตาม ThaiForexReview
ติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดการลงทุนได้ที่ : News
อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ : Blogs
รีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยม : Top Brokers