List of content

    Broker Dealing Desks กับ No-Dealing Desks คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร และวิธีการเลือกโบรกเกอร์ที่ดี


    Broker Dealing Desks กับ No-Dealing Desks คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร และวิธีการเลือกโบรกเกอร์ที่ดี

    กลับมาพบกันอีกแล้วนะครับ ในบทความเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเรื่องการลงทุนในตลาด Forex วันนี้เราจะมาพูดคุยกันในเรื่องชองประเภท Broker และคุณรู้ไหมว่าโบรกเกอร์หรือบริษัทที่เป็นตัวแทนในการรับคำสั่งออเดอร์เข้าสู่ตลาด Forex ที่กำลังใช้บริการเทรดกันอยู่ทุกวันนั้นเป็นโบรกเกอร์ประเภทอะไร หากคุณยังไม่รู้ละก็ ผมจะพามาทำความรู้จักกับประเภทของโบรกเกอร์ไปพร้อม ๆ กันครับ

    Broker ที่ให้บริการเราในตลาดการลงทุนนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือ

    1. Broker Dealing Desks (DD)

    2. Broker No-Dealing Desks (NDD)

    Type of Forex Broker ประเภทของโบรกเกอร์

     

    ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการให้บริการที่ค่อนข้างชัดเจนครับ ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ จะถูกเขียนไว้อย่างละเอียดเพื่อให้คุณได้เข้าใจในหลักการทำงาน และในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึงโบรกเกอร์ประเภท Broker Dealing Desks (DD) เป็นหลักนะครับ ตามที่ได้ตั้งชื่อหัวข้อบทความไปข้างต้น ถ้าทุกท่านพร้อมแล้ว ก็มาเริ่มทำความรู้จักไปพร้อมกันเลยครับ

    1. Broker Dealing Desk (DD) หรือที่เราเข้าใจว่าเป็น Market Maker

    Broker Dealing Desk คือ โบรกเกอร์ที่คอยดำเนินการ หรือให้บริการการเทรดผ่านการจัดการของตัวโบรกเกอร์เอง ที่จะมีแหล่งรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และมีทีมพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งดูแลออเดอร์ที่ลูกค้าส่งคำสั่งซื้อขายเข้าไปนั้นก็จะอยู่ในการดูแลของโบรกเกอร์ประเภทนี้ และการซื้อขายแต่ละครั้งของเรา โบรกเกอร์จะทำการจับคู่ออเดอร์กับลูกค้าคนอื่น ๆ ให้

    2. Broker No-Dealing Desks (NDD)

    Broker No-Dealing Desk คือ โบรกเกอร์ที่คอยให้บริการการเทรดลูกค้า โดยมีการส่งข้อมูล หรือคำสั่งซื้อขายของลูกค้าเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่คำสั่งการซื้อขายนั้นจะไม่ผ่าน Server หลัก ของทางโบรกเกอร์ก่อน โดยโบรกเกอร์ประเภท No-Dealing Desk จะแบ่งแยกประเภทการประมวณผลออกได้อีก 2 รูปแบบ ดังนี้

    2.1 Straight Through Processing (STP) คือ รูปแบบการประมวลผลโดยตรง

    2.2 Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP) คือ การทำงานโดยใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อขายที่ตรงกัน + การทำงานแบบประมวลผลโดยตรง

    เอาล่ะ ทุกท่านน่าจะเห็นภาพประเภทของโบรกเกอร์ทั้ง 2 ประเภทแล้ว ต่อไปผมจะลงลึกถึงโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desks (DD) ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร พร้อมมีรูปภาพประกอบเพื่อให้คุณได้เห็นภาพการทำงานชัดขึ้น และผมจะขอแนะนำการเลือกโบรกเกอร์ในช่วงท้ายของบทความด้วยครับ

    Broker Dealing Desks (DD) มีหลักการทำงานอย่างไร ?

    นักลงทุนหลายท่านคงคุ้นกันดีกับคำว่า Market Maker ใช่ไหมครับ ซึ่งก็คือโบรกเกอร์ Dealing Desks ที่เรากำลังกล่าวถึง เป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ได้ทำการส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าไปยังตลาดตรง ๆ โดยจะมีหลักการทำงานดังรูปตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

    Broker Dealing Desks หลักการทำงาน

    จากรูปภาพข้างต้นเป็นหลักการทำงานของโบรกเกอร์ Dealing Desk โดยเทรดเดอร์จะทำการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น MT4 หรือ MT5 แล้วโบรกเกอร์จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลของลูกค้า โดยมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เมื่อเราทำการกดเปิดคำสั่งซื้อขาย โบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk ก็จะทำการจับคู่ออเดอร์ของเรากับออเดอร์ของลูกค้าท่านอื่นให้

    ยกตัวอย่างเช่น

    คุณเปิดคำสั่งการซื้อขาย โดยเปิดออเดอร์ Buy คู่สกุลเงิน EUR/USD จำนวน 1 Lot แล้วโบรกเกอร์จะหาคำสั่งของลูกค้าฝั่งตรงข้ามให้เรา คือออเดอร์ Sell EUR/USD มาจับคู่กับออเดอร์ Buy ของเรานั่นเองครับ แต่หากโบรกเกอร์ไม่สามารถจับคู่ออเดอร์ให้ Match กันได้ ก็จะส่งคำสั่ง Buy ของเราไปใ้หผู้จัดการสภาพคล่องที่เป็นนิติบุคคลขนาดใหญ่ ที่มีความพร้อมจะซื้อขายอยู่แล้วครับ

    ซึ่งวิธีการส่งออเดอร์ไปให้ ผู้บริการสภาพคล่องนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับ Broker โดยที่โบรกเกอร์จะได้รายได้จากค่า Spread โดยที่โบรกเกอร์ไม่ต้องถือออเดอร์ที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับเราเลย ซึ่งในกรณีนี้ก็คือโบรกเกอร์ไม่ต้องถือออเดอร์ Sell เพื่อให้ Match กับออเดอร์ Buy ของเรานั่นเองครับ

    Broker Dealing Desks (DD) ทำกำไรอย่างไร ?

    พูดถึงหลักการทำรายได้ของโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desks นั้น ส่วนใหญ่รายได้จะมาจากค่า Spread ที่เทรดเดอร์ต้องจ่ายเวลาเปิดคำสั่งการซื้อขายแต่ละครั้ง โดยลักษณะค่า Spread ของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะถูก Fix ไว้ และการกำหนดค่า Spread นี้เอง ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจเลือกโบรกเกอร์ได้ ส่วนราคาสินทรัพย์หรือราคากราฟของคู่สกุลเงินที่โชว์อยู่บน Trading Platform จะเป็นราคาที่ถูกอ้างอิงมาจากราคาตลาดจริงครับ

    Broker Dealing Desks แพลตฟอร์ม MT4 MT5

    เมื่อเราเทรดได้กำไรจากออเดอร์นั้น โบรกเกอร์ก็จะส่งคำสั่งของเราไปที่แบงค์เพื่อนำเงินกลับมาให้เรา แต่ส่วนที่เราเทรดเสียก็จะเป็นรายได้ของโบรกเกอร์ไป บวกกับรายได้อีกส่วนหนึ่งของโบรกเกอร์ก็คือค่า Spread ที่เก็บจากเทรดเดอร์ไปตั้งแต่ตอนแรกที่เรากดเปิดออเดอร์ครับ

    ต่อไปจะเป็นการแนะนำการเลือกโบรกเกอร์ ว่าควรเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหนดี ระหว่าง Broker Dealing Desks กับ Broker No-Dealing Desks

    เลือกใช้ Broker Dealing Desks หรือ Broker No-Dealing Desks ดี ?

    มาถึงช่วงสุดท้ายของบทความกันแล้ว ในส่วนนี้จะเป็นการแนะนำการเลือกใช้บริการโบรกเกอร์ของทั้ง 2 ประเภท ก่อนอื่นเลยต้องขอบอกก่อนว่าโบรกเกอร์แต่ละประเภทนั้นมีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องตัดสินใจเลือกตามความต้องการของคุณจริง ๆ ว่าต้องการจะโฟกัสจุดดีในส่วนไหน

    ตัวอย่างเช่น

    หากคุณต้องการโบรกเกอร์ที่มีค่าบริการที่ค่อนข้างถูก Spread คงที่ คุณอาจจะเลือกโบรกเกอร์ Dealing Desks

    หรือ หากคุณต้องการเลือกโบรกเกอร์ที่มีความปลอดภัย และยอมรับค่าบริการที่สูงได้ คุณอาจจะเลือกโบรกเกอร์แบบ No-Dealing Desks

    อย่างไรก็ตาม การที่เราจะเลือกโบรกเกอร์ในการเทรดนั้น ต้องดูหลาย ๆ ปัจจัยเข้ามาร่วมด้วยครับ ไม่ว่าจะเป็น ความน่าเชื่อถือของบริษัทนั้น ประสบการณ์การใช้งานของคนอื่น ๆ โดยดูจากรีวิว (แบบข้อมูลจริง) หรือจะคลิกเข้ามาอ่านเพิ่มในรีวิวโบรกเกอร์ที่ผมได้เขียนก็ได้ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เพราะในปัจจุบันนั้นหลาย ๆ โบรกเกอร์ทำการตลาดกันค่อนข้างหนัก เพื่อทำให้ลูกค้าหันไปใช้บริการของตัวเอง และขอบอกก่อนว่าโบรกเกอร์แบบ No-Dealing Desks อาจจะไม่ได้มีความน่าเชื่อถือเสมอไป จนบางครั้งโบรกเกอร์แบบ Dealing Desks อาจจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าก็ได้ครับ

    _______________________________________________________

    สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจเลือกใช้บริการ Broker ประเภทไหนก็แล้วแต่ ต้องดูข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ด้วย บวกกับการศึกษาวิธีการลงทุน วิธีการเทรดอยู่เสมอ โดยคุณสามารถเข้ามาอ่านบทความสาระการลงทุน ที่ผมเขียนไว้ได้เขียนไว้ให้ทุกคนได้อ่านกันแบบฟรี ๆ สามารถติดตามได้ที่ Thaiforexreview

    ติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดการลงทุนได้ที่ : News

    อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ : Blogs

    รีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยม : Top Brokers




    investing

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    tfn
    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    ความรู้ Forex

    Forex

    Gold

    Beginner

    Investing

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved