List of content
เตือน ! 5 กลโกงที่โบรกเกอร์ Forex มักใช้ พร้อมวิธีการเลี่ยง
Forex หรือ Foreign Exchange คือตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของตลาด Forex จึงมีโบรกเกอร์ Forex เกิดขึ้นมากมาย มีทั้งโบรกเกอร์ที่ให้บริการด้วยความโปร่งใสและซื่อสัตย์ แต่ก็มีโบรกเกอร์บางแห่งที่อาศัยความไม่รู้ของผู้ลงทุนในการหลอกลวงเพื่อเอาเงิน โดยในวันนี้ Thaiforexreview จะมาพูดถึง 5 กลโกงที่โบรกเกอร์ Forex มักใช้ เพื่อให้ผู้ลงทุน Forex ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลโกงเหล่านี้ จะมีกลโกงรูปแบบไหนบ้าง สามารถติดตามได้ในบทความนี้
โบรกเกอร์ Forex คือ ตัวกลางที่เชื่อมต่อระหว่างเทรดเดอร์และตลาดกลางเข้าด้วยกัน โดยทำหน้าที่ส่งคำสั่งของเทรดเดอร์ไปยังตลาด เพื่อช่วยให้เทรดเดอร์สามารถซื้อขายสินทรัพย์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ การลงทุนผ่านโบรกเกอร์ Forex จะอยู่ในรูปแบบ CFDs เท่านั้น
โบรกเกอร์ Forex คือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเทรดเดอร์รายย่อยกับตลาด Forex มีหน้าที่หลักในการส่งคำสั่งซื้อขายจากเทรดเดอร์ไปยังตลาด Forex และดำเนินการซื้อขายให้ตามคำสั่งของลูกค้า
1. การปรับ Spread เมื่อมีข่าวสำคัญ
การปรับ Spread ของโบรกเกอร์ในขณะที่มีข่าวสำคัญส่งผลเชิงลบต่อการเทรด Forex อย่างมาก โดยเฉพาะกับเทรดเดอร์ที่มีทุนน้อยแล้วต้องการที่จะเทรดในช่วงที่มีข่าวสำคัญ ซึ่งทางโบรกเกอร์ Forex จะทำการปรับค่า Spread ให้มากขึ้น ทำให้เส้น Bid และเส้น Ask ห่างออกจากกันมากขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับเทรดเดอร์ที่มีทุนน้อย ๆ โดนจุด SL ง่ายยิ่งขึ้น และทำให้โดนจุด TP ยากมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
เทรดเดอร์ควรรับมืออย่างไร ?
เทรดเดอร์ควรที่จะทำความเข้าใจกับเงื่อนไขการ Spread ของโบรกเกอร์ในทุกสถานการณ์ อีกทั้งการปรับ Spread ในขณะที่มีข่าวสารสำคัญ รวมไปถึงการทดลองใช้งานบัญชี Demo ก่อนตัดสินใจเปิดบัญชีจริง เพื่อที่จะได้เป็นการตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ดังกล่าวมีการปรับค่า Spread ในช่วงเวลาข่าวมากน้อยเพียงใด
2. การเกิด Slippage
Slippage คือ ความผิดพลาดทางระบบของตัวโบรกเกอร์ที่เกิดขึ้นได้โดยความตั้งใจและความไม่ตั้งใจ โดยที่จะทำให้การเปิดคำสั่งซื้อนั้นคลาดเคลื่อน เช่น เทรดเดอร์ทำการเปิดออเดอร์ XAU/USD ที่ราคา 1,900 แต่ได้เกิด Slippage ในช่วงเวลานั้น ทำให้ราคาที่เทรดเดอร์จะได้นั้นกลายเป็น 1,902 สรุปง่าย ๆ ก็คือ Slippage เป็นความขัดข้องของโบรกเกอร์ ซึ่งอาจจะเกิดจากสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ช้าในขณะนั้น หรืออาจจะเป็นที่ทางต้นระบบของโบรกเกอร์ที่เกิดการขัดข้องบางอย่าง ทำให้การเปิดคำสั่งซื้อของเทรดเดอร์คลาดเคลื่อน และไม่ได้ราคาที่ต้องการนั่นเอง
เทรดเดอร์ควรรับมืออย่างไร ?
จริง ๆ แล้วเราไม่อาจที่จะเลี่ยง Slippage ได้ 100% อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าการเกิด Slippage สามารถที่จะเกิดขึ้นได้โดยความไม่ตั้งใจของโบรกเกอร์ แต่เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าโบรกเกอร์ไหนตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งให้เกิด Slippage สังเกตได้ง่าย ๆ ตามข้อสังเกต ดังนี้
-
-
ในกรณีที่ “โบรกเกอร์ตั้งใจ” เมื่อเทรดเดอร์ทำการเทรดกับโบรกเกอร์หนึ่งในช่วงเวลาประกาศข่าวสำคัญ และทุก ๆ ครั้งเทรดเดอร์จะได้ออเดอร์ที่ช้ากว่าปกติในทุก ๆ ครั้งที่เทรดในช่วงเวลาประกาศข่าวสำคัญ แสดงว่าโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์เทรดอยู่นั้น “ตั้งใจ” ที่จะทำให้เกิด Slippage นั่นเองครับ
-
ในกรณีที่ “โบรกเกอร์ไม่ตั้งใจ” เมื่อเทรดเดอร์ทำการเทรดกับโบรกเกอร์หนึ่งในช่วงเวลาประกาศข่าวสำคัญหรือไม่ใช่ช่วงเวลาข่าวสำคัญ และนาน ๆ ครั้งเทรดเดอร์จะได้ออเดอร์ที่ช้าปกติในที่ขณะเทรด แสดงว่าโบรกเกอร์ที่เทรดเดอร์เทรดอยู่นั้น “ไม่ได้ตั้งใจ” ที่จะทำให้เกิด Slippage แต่อาจจะเป็นเพราะคนเข้าใช้งานในขณะนั้นเยอะจนทำให้ระบบช้ากว่าปกติเท่านั้นเองครับ
-
3. Stop Hunting
Stop Hunting เป็นเทคนิคการเทรดของเทรดเดอร์รายใหญ่ ๆ ที่สามารถขับเคลื่อนตลาดได้ โดยเทรดเดอร์รายใหญ่เหล่านี้จะทำการผลักดันราคาไปในจุดที่ตัวเองต้องการ เกินกว่าจุด Stop Loss ของเทรดเดอร์รายย่อย หรือที่เทรดเดอร์รายย่อยเรียกกันว่า “เจ้าลาก” นั่นเองครับ โดยในที่นี้ไม่ใช่กลโกงของโบรกเกอร์ Forex แต่เป็นวิธีการเทรดของรายใหญ่เท่านั้น ซึ่งมันอาจจะดูไม่ค่อยยุติธรรมกับเทรดเดอร์รายย่อยสักเท่าไหร่ แต่นี่ก็เป็นปกติของโลกที่ได้นิยามประโยคหนึ่งเอาไว้ว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” นั่นเองครับ
เทรดเดอร์ควรรับมืออย่างไร ?
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่ทำให้เทรดเดอร์รายย่อยหลาย ๆ คนถอดใจและหันหลังให้กับตลาด Forex เป็นจำนวนมาก แต่เทรดเดอร์รายย่อยก็ยังสามารถรับมือกับเทคนิคดังกล่าวได้จากวิธีการเหล่านี้
-
ทำการ Risk Management โดยลดขนาด Lot Size เพื่อที่จะถอย SL ไปได้ไกลมากขึ้น คงความเสี่ยงไว้เท่าเดิม เพื่อให้พอร์ตของคุณปลอดภัย แต่ก็ต้องแลกมากับจำนวนกำไรที่ลดลงเช่นกัน
-
ศึกษาเทคนิค Price Action เทคนิคนี้จะสามารถช่วยให้เทรดเดอร์สามารถที่จะหาจุดเข้าได้อย่างแม่นยำ เพียงแค่อ่านกราฟแท่งเทียนเท่านั้น ทั้งนี้เทรดเดอร์จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Demand และ Supply มาก่อนด้วย
4. ค่าคอมมิชชันและค่าธรรมเนียมที่โบรกเกอร์ไม่ได้บอกกับเทรดเดอร์โดยตรง
ในหัวข้อนี้เป็นเหมือนกับธรรมเนียมแอบแฝง หรือเป็นการปกปิดว่าไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งบางโบรกเกอร์อาจจะทำการปกปิดข้อมูลเหล่านี้เพื่อที่แอบเก็บเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยที่เทรดเดอร์ไม่ได้สังเกต เพื่อทำกำไรให้กับตนเอง เช่น การแอบเก็บค่า Commission ในการเทรดจำนวนน้อยมาก ๆ หรืออาจจะเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมการฝาก-ถอน เป็นต้น
เทรดเดอร์ควรรับมืออย่างไร ?
ทำการอ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้ครบถ้วนในหน้าเว็บของโบรกเกอร์ก่อนเปิดบัญชีเทรดกับโบรกเกอร์นั้น ๆ แต่ถ้าหากว่ายังมีการหักค่าธรรมเนียมอะไรสักอย่างจากธุรกรรมใด แต่ไม่ได้มีบอกหน้าเว็บ แนะนำให้เปลี่ยนโบรกเกอร์ไปเลยดีกว่าครับ
5. เงื่อนไขในการถอนเงิน
โบรกเกอร์ Forex บางรายอาจมีเงื่อนไขในการถอนเงินที่ไม่เปิดเผยหรือเป็นเงื่อนไขที่เข้าใจยาก ทำให้เทรดเดอร์เป็นเสี่ยงต่อการโกง โดยเฉพาะเมื่อมีการถอนเงินจำนวนมากหรือมีกำไรสูง เทรดเดอร์ควรตรวจสอบเงื่อนไขการถอนเงินของโบรกเกอร์อย่างรอบคอบก่อนที่จะเปิดบัญชีทำการเทรด และเลือกโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการรับรองจากหน่วยงานทางการเงินที่เป็นทางการเพื่อความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการเงินของตน
เทรดเดอร์ควรรับมืออย่างไร ?
ข้อนี้จะแนะนำเหมือนกันกับข้อที่ 4 ให้เทรดเดอร์ทำการเข้าไปอ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับการฝากถอนต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนที่จะทำการฝากเงินกับทางโบรกเกอร์ แต่ถ้าหากว่าอ่านไปแล้วยังมีบางข้อที่ไม่เข้าใจ หรือถ้าอ่านดูแล้วอาจจะข้องใจ แนะนำให้นำเงื่อนไขไปถามกับทางโบรกเกอร์ และถ้าทางโบรกเกอร์ไม่สามารถที่จะให้คำตอบได้ตรงกับคำถาม แนะนำให้เปลี่ยนโบรกเกอร์ไปเลยดีกว่าครับ
บทความที่เกี่ยวข้องกับ 5 กลโกงที่โบรกเกอร์ Forex มักใช้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ 5 กลโกงที่โบรกเกอร์ Forex มักใช้
1. เทรด Forex ผิดกฎหมายไหม ?
> การเทรด Forex ไม่ได้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่เป็นการลงทุนที่ไม่ได้มีกฎหมายรองรับ ซึ่งถ้าหากว่าเทรดเดอร์ทำการเทรด Forex แล้วถูกโบรกเกอร์ดังกล่าวโกง เทรดเดอร์จะไม่ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายนั่นเอง
2. เทรด Forex เสียภาษีไหม ?
> เทรดเดอร์ที่มีรายได้จากการเทรด Forex จำเป็นต้องเสียภาษีเช่นกัน เนื่องจากกำไรนั้นจัดเป็นเงินได้พึงประเมิน ประเภทที่ 4 ในการคำนวณจะนับจากรายได้ที่หักการขาดทุนเรียบร้อยแล้ว
3. เทรดกับโบรกเกอร์ Forex ไหนดี ?
-
IUX Markets
-
Pepperstone
-
FBS
-
Exness
-
XM
5 กลโกงที่โบรกเกอร์ Forex มักใช้ เป็นกลยุทธ์ของโบรกเกอร์ Forex ใช้เพื่อหลอกลวงเทรดเดอร์ Forex โดยกลโกงเหล่านี้ได้แก่
-
การปรับ Spread เมื่อมีข่าวสำคัญ โบรกเกอร์ Forex มักปรับ Spread ให้สูงขึ้นในช่วงที่มีข่าวสำคัญ เนื่องจากเทรดเดอร์มักจะมีแนวโน้มที่จะเทรดในช่วงที่มีข่าวสำคัญ ซึ่งจะทำให้เทรดเดอร์ที่มีทุนน้อยมีโอกาสเสียเงินได้มากขึ้น
-
การเกิด Slippage คือความผิดพลาดทางระบบของโบรกเกอร์ Forex ซึ่งอาจทำให้การเปิดคำสั่งซื้อของเทรดเดอร์คลาดเคลื่อนจากราคาที่ต้องการ
-
Stop Hunting เป็นเทคนิคการเทรดของเทรดเดอร์รายใหญ่ ๆ ซึ่งอาจทำให้ราคาวิ่งเข้าชนจุด Stop Loss ของเทรดเดอร์รายย่อย
-
ค่าคอมมิชชันและค่าธรรมเนียมที่โบรกเกอร์ไม่ได้บอกกับเทรดเดอร์โดยตรง โบรกเกอร์ Forex บางแห่งอาจแอบเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยไม่แจ้งให้เทรดเดอร์ทราบ
-
เงื่อนไขในการถอนเงินที่ไม่ชัดเจน โบรกเกอร์ Forex บางแห่งอาจมีเงื่อนไขในการถอนเงินที่ไม่ชัดเจนหรือเข้าใจยาก ซึ่งอาจทำให้เทรดเดอร์ไม่สามารถถอนเงินได้
เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของกลโกงเหล่านี้ ผู้ลงทุน Forex ควรตรวจสอบข้อมูลของโบรกเกอร์อย่างรอบคอบก่อนเปิดบัญชีทำการเทรด โดยควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงและได้รับการรับรองจากหน่วยงานทางการเงินที่เป็นทางการ
หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม
สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับ Forex ได้ทางเว็บไซต์ www.thaiforexreview.com
ติดตามความเคลื่อนไหวและการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thaiforexreview
ติดตามข่าวสารการลงทุนและบทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ได้ที่ Forex Analysis
อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ Blogs
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมได้ที่ Top Brokers