List of content
ทำความรู้จัก GDP และ GNP แตกต่างกันอย่างไร?
รู้หรือไม่?! GDP และ GNP สามารถใช้ประเมินความยั่งยืนของสถานะทางการเงินระหว่างประเทศและความแข็งแกร่งของค่าเงินได้ หมดยุคลงทุนตามกระแส นักลงทุนรุ่นใหม่ต้องรู้จักตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ในบทความนี้ Thaiforexreview จะพาไปทำความรู้จัก GDP และ GNP ว่า มันคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไรกันครับ
GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งหมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ “ผลิตภายในประเทศ” ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตของคนสัญชาติใดก็ตาม โดยไม่นับผลผลิตที่เกิดจากคนสัญชาตินั้นในต่างประเทศครับ
สรุปนิยาม GDP
GDP จะอ้างอิงเฉพาะสินค้าและบริการที่ผลิตภายในประเทศเท่านั้น โดยไม่สนว่าผู้ผลิตจะเป็นคนภายในประเทศหรือชาวต่างชาติ
การคำนวณ GDP
สูตรที่ใช้ในการคำนวณ GDP คือ
โดยแต่ละองค์ประกอบหมายถึง
-
C = Consumption คือ การบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร, สินค้า, น้ำ หรือไฟฟ้า เป็นต้น
-
I = Investment คือ การลงทุนของภาคเอกชน เช่น การซื้อที่ดิน, เครื่องจักร หรือซอฟต์แวร์ เป็นต้น
-
G = Government Spending คือ การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ เช่น การสร้างถนน, การซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ หรือค่าครุภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น
-
X – M หรือ NX = Net Export คือ มูลค่าการส่งออกสินค้าสุทธิ โดยนำมูลค่าการส่งออกลบด้วยมูลค่าการนำเข้า
การอ่านค่าตัวเลข GDP ที่ถูกประกาศออกมา ทุกท่านสามารถอ่านได้ดังนี้
-
ถ้าตัวเลข GDP เป็นบวก (+) แสดงว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นสูงขึ้น เนื่องจากมีการไหลเวียนของเงินที่มาจากการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศนั้นมีรายได้มากขึ้นครับ
-
ถ้าตัวเลข GDP เป็นลบ (–) แสดงว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศนั้นมีการชะลอตัว เนื่องจากมีการไหลเวียนของเงินที่มาจากการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศลดลง ทำให้ประเทศนั้นมีรายได้น้อยลงครับ
GDP บ่งบอกอะไร?
GDP ถูกใช้เพื่อแสดงถึงอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ๆ จากความสามารถในการผลิต ตลอดจนมูลค่าการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นภายในประเทศ โดยนักลงทุนสามารถใช้ตัวเลข GDP เพื่อกำหนดกลยุทธ์และทิศทางในการลงทุนต่อไปได้ เพราะมันจะทำให้เราทราบถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนั้น ๆ ครับ
GNP ย่อมาจาก Gross National Product คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ซึ่งหมายถึงมูลค่ารวมของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ “พลเมืองในประเทศนั้นผลิต” ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นในหรือนอกประเทศ โดยไม่นับผลผลิตที่เกิดจากคนสัญชาติอื่นครับ
สรุปนิยาม GNP
GNP จะอ้างอิงเฉพาะสินค้าและบริการที่คนภายในประเทศนั้นผลิตเท่านั้น โดยไม่สนว่าจะผลิตที่ใด ในหรือนอกประเทศ
การคำนวณ GNP
สูตรที่ใช้ในการคำนวณ GNP คือ
โดยแต่ละองค์ประกอบหมายถึง
-
GDP คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
-
NFIA คือ รายได้สุทธิจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างรายได้ที่พลเมืองนั้นหาได้ในต่างประเทศ และรายได้ที่พลเมืองของประเทศอื่นหาได้ในประเทศนั้น
GNP บ่งบอกอะไร?
GNP ถูกใช้เพื่อเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผลผลิตทางเศรษฐกิจจากพลเมืองของประเทศนั้น ๆ ทั้งในและต่างประเทศจะสามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาระดับชาติได้ เช่น อัตราเงินเฟ้อ ดุลการชำระเงิน หรือความยากจน เป็นต้น ซึ่งการคำนวณรายได้ของพลเมืองในประเทศโดยไม่คำนึงถึงที่ตั้งจะทำให้ GNP มีความน่าเชื่อถือมากกว่า GDP เนื่องจากมุมมองในการคำนวณกว้างไกลกว่าเดิม อีกทั้ง ยังตัดเรื่องการนับพลเมืองซ้ำด้วยครับ
ความคล้ายคลึงกันของ GDP และ GNP |
ความแตกต่างกันของ GDP และ GNP |
|
|
ตัวเลข GDP และ GNP จะสามารถนำไปหา “รายได้สุทธิจากต่างประเทศ (Net Factor Income From Aboard: NFIA)” ได้จากสมการต่อไปนี้ครับ
กำหนดให้
-
A = รายได้ที่พลเมืองนั้นหาได้ในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น คนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ
-
B = รายได้ที่พลเมืองของประเทศอื่นหาได้ในประเทศนั้น ตัวอย่างเช่น คนต่างประเทศที่มาทำงานในไทย
จากสูตร อ่านค่าได้ดังนี้
-
หาก A มากกว่า B หรือมีค่าเป็นบวก (+) แสดงว่า ประเทศนั้นมีรายได้มากกว่ารายจ่าย ซึ่งมีส่วนทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ตัวเลข GNP มีค่าสูงกว่าตัวเลข GDP
-
หาก A น้อยกว่า B หรือมีค่าเป็นลบ (–) แสดงว่า ประเทศนั้นมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งมีส่วนทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัว ส่งผลให้ตัวเลข GNP มีค่าต่ำกว่าตัวเลข GDP
ความสำคัญของรายได้สุทธิจากต่างประเทศ (NFIA)
รายได้สุทธิจากต่างประเทศ (NFIA) เป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงสมดุลระหว่างรายได้ที่เกิดขึ้นและภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้เราทราบว่า ประเทศนั้น ๆ มีรายได้จาก “รายได้ที่พลเมืองนั้นหาได้ในต่างประเทศ” มากหรือน้อยกว่า “รายได้ที่พลเมืองของประเทศอื่นหาได้ในประเทศนั้น”
โดยการวัดค่า NFIA จะช่วยประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ๆ ว่าเติบโตอย่างมีเสถียรภาพหรือไม่ อีกทั้ง ยังช่วยประเมินความยั่งยืนของสถานะทางการเงินระหว่างประเทศของประเทศนั้น ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความแข็งแกร่งของค่าเงินในประเทศต่อไปครับ ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงสามารถใช้ NFIA เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ครับ
สรุป
โดยสรุปแล้ว GDP และ GNP ต่างก็เป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนครับ นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศ และตลาดหุ้นหรือเงินตราครับ
Source : CFI, Wallstreetmojo, Studysmarter, SET Invest และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม
สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับ Forex ได้ทางเว็บไซต์ www.thaiforexreview.com
ติดตามความเคลื่อนไหวและการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thaiforexreview
ติดตามข่าวสารการลงทุนและบทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ได้ที่ Forex Analysis
อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ Blogs
อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมได้ที่ Top Brokers