List of content

    ตามติด! ทำไม USD อ่อนค่า พร้อมตารางประชุม Fed 2567


    ตามติดทำไม USD อ่อนค่า ? พร้อม ตารางประชุม Fed 2567

    USD หรือค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือน จากพิษเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ทรุดตัวลงอย่างหนัก ด้วยปัจจัยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ในช่วงที่ผ่านมา ค่อย ๆ ส่งผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

    แต่ปกติแล้วเมื่อ FED ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย แต่ทำไมรอบนี้ถึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง วันนี้ทางทีมงาน Thaiforexreview จะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยว่า ทำไมดอลลาร์ถึงอ่อนค่าลงในช่วงนี้ พร้อมกับอัปเดตตารางการประชุมของ FED ในปี 2024 นี้

     

    ทำไมดอลลาร์ถึงอ่อนค่าลงในช่วงนี้ ?

    ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประสบกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงปี 2022 โดยภาวะเงินเฟ้อนั้นเกิดขึ้นหลังจากโลกได้เข้าสู่ยุค Covid-19 ในช่วงปี 2020 ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6 ล้านชีวิตทั่วโลก ส่งผลให้หลาย ๆ ประเทศต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อที่จะประคองระบบเศรษฐกิจต่อไป 

    และจากปัจจัยของการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเป็นจำนวนมากนั้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯ เป็นแหล่งรวมบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และใหญ่เกินกว่าจะล้มละลาย จึงจำเป็นที่จะต้องอัดฉีดเงินเข้าไปจำนวนมาก เพื่อประคองกิจการเหล่านั้นให้ยังอยู่รอดต่อไปได้ ซึ่งผลที่ตามมา คือ อัตราเงินเฟ้อที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในช่วงปี 2022 เงินเฟ้อสหรัฐฯ ขึ้นไปที่ระดับ 9.1% ส่งผลให้ FED จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจที่มีมากเกินไป ซึ่งในปี 2023 ที่ผ่านมา FED ได้ทำการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปที่ระดับ 5.50% และคงไว้ที่ระดับนี้มานานกว่า 14 เดือนติดกันแล้ว (ก.ค. 2023 - ก.ค. 2024)

    กราฟแสดงอัตราดอกเบี้ยของ FED

    (FED Fund Rate หรือ อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ)

     

    จากปัจจัยของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จึงส่งผลให้เหล่าธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบในวงกว้าง เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กำลังผลิตลดลง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ถูกลดทอนอำนาจการซื้อขายลง เนื่องจากของที่แพงขึ้น ส่งผลให้ FED ต้องพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเศรษฐกิจพังลงมากกว่านี้ พร้อมกับเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาสู่สมดุลอีกครั้ง 

     

    “ดอลลาร์ร่วงลง เนื่องจากการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED”

     

    กราฟอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์กับไทยบาท

    (กราฟอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์/บาท)

    แม้ว่า FED ยังไม่ได้ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก็ตาม แต่ในช่วงที่ผ่านมา FED ได้มีความเห็นหนักแน่นที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกเทขายสกุลเงินดอลลาร์ และย้ายเงินเข้าไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างเช่น หุ้น กองทุนรวม หรือทองคำ เป็นต้น และกดดันสกุลเงินดอลลาร์ลงจากการถือครองที่น้อยลง ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ดอลลาร์ร่วงลงไปถึง 33 บาทต่อดอลลาร์ เป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน ซึ่งถ้าหากว่า FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจริง ๆ ก็มีความเป็นได้ว่า ค่าเงินดอลลาร์อาจจะร่วงลงไปต่ำกว่านี้ก็เป็นได้ครับ

    ตารางคาดการณ์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED
    (ตารางคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของ CME FEDWATCH)

    ตารางข้างต้น เป็นตารางคาดการณ์ความเป็นไปได้ที่ FED จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในการประชุมครั้งถัด ๆ ไป โดยจะสังเกตได้ว่า อัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลงแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงไปอย่างต่อเนื่อง จากผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยที่ลดลง ลดความน่าดึงดูดของสกุลเงินดอลลาร์ โดยเหล่านักลงทุนย้ายเงินเข้าไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้

     

    ตารางการประชุม FED ปี 2024-2025

     

    ตารางประชุม FED ปี 2024

     ตารางการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ปี 2024

     

    ตารางประชุม FED ปี 2025

     ตารางการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ปี 2025

     

    การประชุม FED สำคัญอย่างไร ?

    การประชุม FED มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงิน โดยมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการกู้ยืมทั่วโลก นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับทิศทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนและธุรกิจใช้ในการวางแผน ผลการประชุมมักส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดหุ้น พันธบัตร และอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจและสกุลเงินของประเทศอื่น ๆ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลักของโลก การสื่อสารของ FED ยังมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน ตลอดจนมีบทบาทในการกำกับดูแลระบบการเงิน ด้วยเหตุนี้ การติดตามและวิเคราะห์ผลการประชุม FED จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจและการเงินทั่วโลก

     

    การประชุม FED ส่งผลต่อเราอย่างไร ?

    การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) มีผลกระทบสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและไทย โดยส่งผลต่อตลาดการเงิน ภาคธุรกิจ และผู้บริโภค การตัดสินใจของ FED โดยเฉพาะเรื่องอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อราคาสินทรัพย์ทางการเงิน ต้นทุนการกู้ยืม และพฤติกรรมการลงทุนและการบริโภค นักลงทุนต้องปรับกลยุทธ์ตามนโยบาย FED ขณะที่ผู้ประกอบการอาจต้องทบทวนแผนการลงทุน ส่วนผู้บริโภคอาจเผชิญกับค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมที่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายการเงินของไทย ทำให้ทุกภาคส่วนต้องติดตามและเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

     

    สินทรัพย์ที่น่าลงทุนในช่วงดอลลาร์อ่อนค่า

    • ทองคำ: มักจะมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับค่าเงินดอลลาร์ เมื่อดอลลาร์อ่อนค่า ราคาทองคำมักจะปรับตัวสูงขึ้น
    • สินค้าโภคภัณฑ์: เช่น น้ำมัน โลหะมีค่า หรือสินค้าเกษตร มักจะมีราคาสูงขึ้นเมื่อดอลลาร์อ่อนค่า
    • หุ้นของบริษัทส่งออก: บริษัทที่มีรายได้หลักจากการส่งออกจะได้ประโยชน์เมื่อเงินดอลลาร์อ่อนค่า
    • ตลาดหุ้นในประเทศกำลังพัฒนา: อาจได้รับประโยชน์จากการไหลเข้าของเงินทุน
    • สกุลเงินต่างประเทศ: โดยเฉพาะสกุลเงินของประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง
    • อสังหาริมทรัพย์: ในบางกรณีอาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน
    • พันธบัตรต่างประเทศ: อาจให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจเมื่อเทียบกับพันธบัตรสหรัฐฯ

    อย่างไรก็ตาม การลงทุนควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น สภาวะเศรษฐกิจโดยรวม นโยบายการเงิน และความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละสินทรัพย์

     

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับดอลลาร์อ่อนค่า

    ดอลลาร์แข็งค่า อ่อนค่า หมายถึงอะไร ?

    ดอลลาร์แข็งค่า หมายถึง มูลค่าของค่าเงินดอลลาร์ มีค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ส่งผลให้สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นได้มากขึ้น ในขณะที่ใช้จำนวนเงินเท่าเดิม

    ดอลลาร์อ่อนค่า หมายถึง มูลค่าของค่าเงินดอลลาร์ มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ส่งผลให้สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นได้น้อยลง ในขณะที่ใช้จำนวนเงินเท่าเดิม

    ปัจจัยที่ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า อ่อนค่า ?

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนมีหลายประการ โดยหลักการสำคัญคือ ความต้องการใช้เงินสกุลใดเพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าเงินสกุลนั้นแข็งค่าขึ้น ตัวอย่างเช่น ในช่วงที่เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจหรือการเมือง เช่น ในภาวะสงคราม นักลงทุนมักจะหันมาถือครองเงินสดในสกุลเงินที่มีความมั่นคงสูง โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสกุลเงินหลักของโลก ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

    นอกจากนี้ นโยบายการเงินของแต่ละประเทศก็มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีที่ประเทศใดเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อสูง ธนาคารกลางมักจะตอบสนองด้วยการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวด โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การดำเนินการเช่นนี้มักจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการถือครองเงินสกุลนั้นเพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้นในที่สุด

     

    สรุปเหตุผลที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง

    ดอลลาร์อ่อนค่าลง เนื่องจาก FED ส่งสัญญาณที่หนักแน่นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดตัวอย่างหนัก ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือนที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถ้าหากว่า FED ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจริง ๆ ก็มีความเป็นไปได้ว่า ค่าเงินดอลลาร์จะร่วงลงไปต่ำกว่านี้ครับ อย่างไรก็ตาม เนื้อหาดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาชักชวนลงทุน แต่เป็นเพียงการอัปเดตสถานการณ์ของค่าเงินดอลลาร์ในช่วงนี้เท่านั้น

     


    ⚠️ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

    หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม

    สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับ Forex ได้ทางเว็บไซต์ www.thaiforexreview.com

    ติดตามความเคลื่อนไหวและการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thaiforexreview

    ติดตามข่าวสารการลงทุนและบทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ได้ที่ Forex Analysis

    อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ Blogs

    อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมได้ที่ Top Brokers

    forex

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved