List of content
FCA (Financial Conduct Authority, United Kingdom)
FCA (Financial Conduct Authority, United Kingdom)
ถือเป็นหนึ่งในองค์กรกำกับดูแล ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท,โบรกเกอร์ และหน่วยงานทางการเงิน FCA เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร และไม่ใช้เงินของผู้เสียภาษีอากรสำหรับการดำเนินงาน และ FCA ยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area) และ Markets in Financial Instruments Directive หรือเป็นที่รู้จักกันในนามของ “MiFID” เป็นหน่วยงานเกี่ยวกับกฎหมายของสหภาพยุโรปที่ให้การกำกับการให้บริการการลงทุนและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
ความรับผิดชอบ ของ FCA
หน่วยงานที่กำกับดูแล FCA มีอำนาจในการดูแล ซึ่งรวมทั้งอำนาจในการกำกับดูแล ผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในตลาดการเงิน ซึ่งสามารถที่จะกำหนดมาตรฐาน และคุณสมบัติพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ได้ การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสามารถทำได้และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนองค์กรหรือหน่วยงานส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องในตลาดการเงิน นอกจากนี้ FCA ยังสามารถห้าม หรือ ออกข้อห้ามผลิตภัณฑ์ทางการเงินเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ระหว่างที่มีการรอพิจารณา การแบนถาวร FCA ยังมีอำนาจในการให้คำแนะนำ ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ของบริษัทซึ่งถ้าหากพบว่า มันไม่ได้เป็นไปตามแนวทางที่ FCA กำหนด
นอกจากนี้ FCA ยังสามารถที่จะทำการสั่งระงับสินทรัพย์ หรือ ผลิตภัณฑ์การเงินของบริษัท หรือ นิติบุคล ภายใต้การสืบสวนสอบสวน ก่อนที่จะระบุความผิดที่พวกเขาได้กกระทำ อำนาจของเจ้าหน้าที่ของ FCA นั้นจะต้องรับผิดชอบการกำกับกฎเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของลูกค้า ตั้งแต่ 1 เมษายน 2014 ซึ่งดูแลอำนาจของ Office of Fair Trading อีกทีหนึ่ง
โครงสร้าง
หน่วยงานให้ความสำคัญเกี่ยวกับกฎซึ่งเกี่ยวพันทั้งฝั่งสถาบันการเงินที่ให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อยและ สถาบันการเงินที่ให้บริการแก่ลูกค้าสถาบัน ซึ่งโครงสร้างของหน่วยงานที่มีอำนาจในการกำกับดูแล FCA ประกอบด้วย Bank of England ในหน่วยงานย่อยของ Prudential Regulatory Authority และ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (Financial Policy Committee โดยที่ FCA นั้นรับผิดชอบธุรกิจในความดูแลประมาณ 58,000 ธุรกิจ ซึ่งมีพนักงานกว่า 2.2 ล้านคน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 65.6 พันล้านปอนด์ในเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร
การดำเนินการและการบังคับใช้ระเบียบ
•โบรกเกอร์ที่ควบคุมโดย FCA ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
•โบรกเกอร์ต้องเก็บเงินลูกค้า ไว้ในบัญชีที่แยกบัญชีออกจากบัญชีของบริษัท และไม่ใช้เงินของผู้ค้าเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
•โบรกเกอร์ต้องจัดทำรายงานการตรวจสอบประจำปี และงบการเงิน เพื่อยืนยันว่าข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ให้ไว้กับ FCA
•มีการรับประกัน เงินชดเชยสูงถึง 50,000 ปอนด์ สำหรับลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
•FCA เป็นหนึ่งในหน่วยงาน ที่มีความเข้มงวดมาก ในการตรวจสอบ,ป้องกันการทุจริตของบริษัท
•โบรกเกอร์ Forex ที่จดทะเบียนกับ FCA จึงต้องค่อนข้างมีความมั่นคง, สภาพคล่องที่สูง
กระบวนการทำงาน
ในช่วงเดือนธันวาคม 2012 พรบ. Financial Services Act 2012 นั้นได้การโปรดเกล้าและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2013 พรบ. ตัวนี้ได้สร้างกรอบการบังคับใช้เกี่ยวกับการให้บริการทางการเงิน และให้อำนาจแก่ Financial Services Authority ในการกำกับดูแลกิจการที่ให้บริการและมีสินค้าเป็นบริการทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ โดย พรบ. ได้ให้อำนาจแก่ ธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England )ในการรับผิดชอบดูแลความมีเสถียรภาพทางการเงิน รวมทั้งใช้อำนาจบังคับใช้ทั้งในมุมมองมหภาคและมุมมองจุลภาค ซึ่งได้สร้างโครงสร้างข้อบังคับใหม่ขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (Financial Policy Committee) , Prudential Regulation Authority และ Financial Conduct Authority
______________________________________________
หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม สามารถติดตาม ThaiForexReview
ติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดการลงทุนได้ที่ : News
อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ : Blogs
รีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยม : Top Brokers