List of content
ธนาคารกลาง เล็งเห็นว่าไทยไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตาม Fed
“ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่าเราไม่จำเป็นต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม Fed อาจส่งผลไปถึงความผันผวนของตลาด”
ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed เพื่อดูแลเงินเฟ้อของธนาคารสหรัฐฯ นี่ถือว่าไม่เป็นปัจจัยที่สร้างแรงกดดันให้ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีการปรับตัวขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม แต่นี่ถือว่าเป็นการสร้างความผันผวนในตลาด โดยมีผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย
ผู้ว่าธนาคารกลางได้กล่าวว่า “การที่ไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่ยืดหยุ่นทำให้เราไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม Fed ต่างจากประเทศที่นำค่าเงินไปผูกติดไว้กับเงินดอลลาร์ที่ต้องปรับดอกเบี้ยให้ไปในทิศทางเดียวกัน แต่แน่นอนว่าผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายคงเลี่ยงไม่ได้ แต่ในภาพรวมเรายังไม่พบอะไรร้ายแรง เรามีความเปราะบางต่ำ มีหนี้ต่างประเทศน้อย มีทุนสำรองสูง” และปัจจัยที่ทางธนาคารกลางจะติดตามและให้น้ำหนักมากกว่าในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ย คือ ปัจจัยภายในประเทศ เช่น การฟื้นตัวเศรษฐกิจภายในประเทศ เสถียรภาพด้านระบบการเงิน และเสถียรภาพทางด้านราคา
โดยความผันผวนของตลาดค่าเงินบาทประเทศไทยนั้น ส่วนมากเกิดจากการถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยภายนอกเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หากนับจากต้นปีเงินบาทยังอ่อนค่าเพียง 3% ซึ่งถ้ามีการเปรียบเทียบกับค่าเงินอื่นยังถือว่าอ่อนค่าน้อย ทั้งนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยต่างมีการจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลเงินบาทเคลื่อนไหวในระดับให้มีเสภียรภาพ
ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสแรก โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้ประเมินว่า GDP ไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ 2.5-3.5% และมีค่ากลางที่ 3% ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการประเมินตัวเลขเอาไว้ที่ 3.2%
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่ออกมาไม่ดีนั้น ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการพิจารณาการปรับขึ้นของดอกเบี้ย ของธนาคารแห่งประเทศ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการมองไปถึงแนวโน้มเศรษฐกิจข้างหน้ามากกว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว
ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศได้มีการขึ้นไปพูด เศรษฐกิจโลกสะท้อนเศรษฐกิจของไทย กล่าวว่า บทบาทของธนาคารแห่งประเทศในช่วงวิกฤตโควิดตลอด 2 ปีที่ผ่านมามีเป้าหมาย คือ การทำให้ระบบการเงินทำงานได้ตามกลไกปกติ ในช่วงที่เศรษฐกิจภาพรวมหดตัว สินเชื่อมักหดตัวลงไปด้วย ทำให้สภาพคล่องธุรกิจในระบบมีปัญหาซ้ำเติม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว ขึ้นมาอีก ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและผ่อนเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้มีความยืดหยุ่น และผลที่ตามมา คือ ภาพรวมของสินเชื่อในระบบของไทยเติบโตขึ้น 11%
จากที่ผมได้กล่าวมา ทำให้เห็นธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการดำเนินเศรษฐกิจที่ตรงกันข้ามกับ Fed ที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากเงินเฟ้อที่มีการปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่า GDP ไทยปีนี้โอกาสที่จะโตต่ำกว่า 2% มีน้อยและยังไม่เข้าข่าย ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งการที่ธนาคารแห่งประเทศได้ดำเนินนโยบายตรงกันข้ามกับ Fed อาจทำให้ตลาดเกิดความผันผวน แต่เนื่องจากนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย มีแนวโน้มในการมองเศรษฐกิจไปข้างหน้ามากกว่าการมองย้อนกลับไปในอดีต จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตัดสินใจทำแบบนี้ครับ แต่ถึงยังไง เราในฐานะที่เป็นคนไทยควรมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะการเดินหน้าของเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลกระทบต่อเราทุกคนครับ