List of content

    จับตา! EU ต้องจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิลหรือไม่?


    จับตา! EU ต้องจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิลหรือไม่?

    ธนาคารกลางรัสเซียและบริษัทก๊าซพรอม ผู้ให้บริการก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัสเซียจะปรับระบบการทำธุรกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ให้รับเฉพาะเงินสกุลรูเบิลของรัสเซียเท่านั้น ซึ่งมีผลเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (31 มีนาคม 2565) ซึ่งท่าทีล่าสุดของทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศสนั้นได้ออกมาปฏิเสธว่า ไม่สามารถจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิลได้ และจะจ่ายเงินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐหรือยูโรเท่านั้น 

    อีกทั้งกระทรวงการคลังรัสเซียยังเสนอรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่อยู่ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 4 เมษายนนี้ โดยรับซื้อคืนเป็นสกุลเงินรูเบิล ซึ่งนักลงทุนที่สนใจสามารถตอบรับข้อเสนอดังกล่าวได้ โดยนักวิเคราะห์และนักลงทุนได้แสดงความเห็นว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นอาจจะถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ถือครองพันธบัตรชาวรัสเซียซึ่งในขณะนี้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดในการรับเงินสกุลดอลลาร์ 

    อย่างไรก็ตาม นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน ได้กล่าวว่า ทางรัสเซียจะยังไม่เรียกร้องให้ประเทศผู้ซื้อที่ไม่เป็นมิตรต้องจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติด้วยสกุลเงินรูเบิลในทันที โดยระบุว่า “การชำระเงินและการส่งก๊าซนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ซึ่งหมายความว่าว่าการส่งก๊าซในวันที่ 31 มีนาคม 2565 จะยังไม่ต้องมีการจ่ายเป็นเงินสกุลรูเบิล เพราะเมื่อมองในแง่เทคนิคแล้ว กระบวนการนี้ยังต้องใช้เวลาในการดำเนินการเป็นอย่างมาก"

    ทั้งนี้ นายยาเชสลาฟ โวโลดิน สมาชิกรัฐสภารัสเซีย ได้ออกมาเปิดเผยว่า รัสเซียยังคงมีแผนที่จะกำหนดให้ประเทศที่จะซื้อ น้ำมัน ถ่านหิน โลหะ ธัญพืช ปุ๋ย และ ไม้ จากรัสเซียต้องจ่ายเป็นเงินสกุลรูเบิลเท่านั้นโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีรายชื่ออยู่ใน ‘ประเทศที่ไม่เป็นมิตรต่อรัสเซีย’

    โดยก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย กล่าวว่า ประเทศที่อยู่ในรายชื่อไม่เป็นมิตรของรัสเซียจะต้องชำระค่าซื้อก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียเป็นสกุลเงินรูเบิลเท่านั้น ทั้งนี้ ประเทศที่ถูกระบุในรายชื่อประเทศที่ไม่เป็นมิตรต่อรัสเซียคือประเทศที่ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย หลังจากที่รัสเซียใช้ปฏิบัติการพิเศษทางทหารต่อยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา

    โดยประเทศและดินแดนที่ปรากฎในรายชื่อที่ไม่เป็นมิตรของรัสเซีย ได้แก่ สหรัฐฯ, แคนาดา, สหภาพยุโรป, สหราชอาณาจักร (รวมทั้งดินแดนในอาณัติ ได้แก่ เจอร์ซีย์, แองกวิลลา, หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน และยิบรอลตา) ยูเครน, มอนเตเนโกร, สวิตเซอร์แลนด์, อัลเบเนีย, อันดอร์รา, ไอซ์แลนด์, ลิกเตนสไตน์ โมนาโก, นอร์เวย์, ซาน มาริโน,นอร์ท มาซิโดเนีย ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, ไมโครนีเซีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์ และไต้หวัน

    นอกจากนี้ค่าเงินรูเบิลได้กลับมาแข็งค่าเกือบเท่าช่วงก่อนรุกรานยูเครนอีกครั้งหลังการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ตุรกีเป็นไปอย่างราบรื่น โดยค่าเงินรูเบิลเคยดำดิ่งแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 151 รูเบิลต่อดอลลาร์ ในวันที่ 7 มีนาคม 2565 หลังถูกเล่นงานโดยมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตก ทว่าค่าเงินรูเบิลก็ได้แข็งค่าคืนมาแล้วเกือบเท่าตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์

    อย่างไรก็ตาม การที่รัสเซียเค้ารางเส้นตายให้จ่ายค่าก๊าซธรรมชาติเป็นรูเบิลนั้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนในการลงทุน จากรายงานข่าวที่ว่าเครมลินเปิดกว้างมากขึ้นในการเจรจาหยุดยิงกับยูเครนในวันที่ 30 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาได้ช่วยส่งเสริมสกุลเงินของรัสเซียให้แข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และตะวันตกต่างก็ยังแสดงความเคลือบแคลงกับคำประกาศของรัสเซีย ทั้งนี้ นักลงทุนยังคงต้องติดตามสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวนของค่าเงินที่อาจจะเกิดขึ้นจากคำประกาศต่าง ๆ ในอนาคต

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved