List of content
ผู้นำอาเซียนเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ !
“วันที่ 12 พ.ค. - 13 พ.ค. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีการเดินทางไปกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 และผลกระทบจากสงคราม”
การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 (ASEAN-U.S. Special Summit) ในวันที่ 12 พ.ค.-13 พ.ค. 2565 นายกรัฐมนตรีประเทศไทย และผู้นำอาเซียนประเทศต่างๆ ได้เดินทางไปประชุมที่กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามคำเชิญของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อหารือในเรื่องการบรรเทาเกี่ยวกับโรคระบาดโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ รวมไปถึงผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
วัตถุประสงค์ สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปิดเผยว่า เพื่อเป็นการผลักดัน ความร่วมมือการขับเคลื่อนฟื้นฟู และการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้พบกับภาคเอกชนของสหรัฐฯ เพื่อย้ำว่าประเทศไทยพร้อมจะฟื้นฟูเศรษฐกิจ และพร้อมเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ย้ำความพร้อมของไทยในการเป็นห่วงโซ่อุปทาน และหุ้นส่วนกับภาคเอกชนสหรัฐฯ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับการร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ในการขับเคลื่อนและการให้ความร่วมมือระหว่างกัน ได้แก่ การเตรียมความพร้อมการรับมือกับโควิด-19 ตลอดเวลา และการฟื้นตัวร่วมกันสำหรับอนาคต เช่น การที่สหรัฐได้เข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมไปถึง การส่งเสริมในการทำวิจัยร่วมกัน การสนับสนุนในเรื่องทางด้านการเงินของด้านสาธารณสุข การผลิตวัคซีนร่วม เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านสาธารณสุข อาเซียน-สหรัฐฯ ในอนาคต
นอกจากนี้ การหารือยังพูดถึงการส่งเสริมด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยเราเอง ให้มีความยั่งยืน เท่าเทียม เติบโต และการส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุน ไปจนถึงการกระชับความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงคมนาคม เช่น การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า, การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
โดย สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้มีกล่าวไว้ว่า สหรัฐฯ และประเทศไทยเป็นคู่ค้าสำคัญ ในทางด้านเศรษฐกิจ การเดินทางไปกรุงวอชิงตัน ครั้งนี้นั้นจึงมีความหมายมาก เนื่องจากถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ ได้ทราบแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศไทย โดยทั้งนี้นั้น ถือว่าเป็นการเดินหน้าเชิงรุกในการหาตลาดเพิ่มเติม เพื่อส่งออกสินค้าและหานักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น ตลอดไปจนถึงการเคลื่อนการเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC 2022 ของประเทศไทย
กล่าวโดยสรุป การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ที่ โจ ไบเดนได้เชิญผู้นำประเทศแถบอาเซียน มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ มีโอกาสได้พูดถึงเรื่องการบรรเทาปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ที่หลายประเทศได้พบเจอ และรวมไปถึงผลกระทบจากการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยประเทศไทยที่ได้เดินทางเข้าไปร่วมประชุมในครั้งนี้ อยากไปเจาะกลุ่มตลาดเพิ่มเติม เพื่อทำให้นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยอีกด้วยครับ