List of content
ค่าคอมสูง-ระบบเทรดสับสน รีวิว OANDA ดีไหม?! เตือนก่อนเทรด รวมสิ่งที่โบรกเกอร์ไม่ได้บอกคุณ อัปเดตล่าสุด 2024
รีวิว OANDA ดีจริงไหม โกงหรือเปล่า?! รวมสิ่งที่โบรกเกอร์ไม่ได้บอกคุณ อัปเดตล่าสุด 2024 โดยทีมงาน Thaiforexreview ในฐานะที่เป็นเว็บไซต์สำหรับการรีวิวโบรกเกอร์ เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้คุณได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกโบรกเกอร์ Forex และแน่นอนว่า ข้อมูลที่เรานำเสนอนี้ล้วนเป็นข้อมูลจากการใช้จริงอย่างแน่นอนครับ
OANDA เป็นชื่อแบรนด์ทางการค้าของ OANDA Corporation ที่มีรากฐานมาตั้งแต่ปี 1997 ก่อนจะก่อตั้งเป็นโบรกเกอร์ Forex ในภายหลัง แม้จะเป็นโบรกเกอร์สัญชาติยุโรป แต่ OANDA กลับเน้นตีตลาดเอเชียเป็นส่วนใหญ่ครับ
ก่อนจะไปดูข้อมูลด้านอื่น ๆ ของ OANDA เรามาดูรีวิวการใช้งานจากผู้ใช้จริงที่ไม่ได้ผ่านการปรับแต่งคำพูด ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเพียงบางส่วนของทั้งหมดเท่านั้น ดังนี้ครับ
OANDA มีตัวเลือกบัญชีที่ให้บริการ 5 บัญชี ดังนี้
1. บัญชีมาตรฐาน
- ค่า Spread เริ่มต้น : 1.1 Pips
- Leverage : 1:200
- จำกัดแพลตฟอร์มการเทรด
- ค่าคอมมิชชั่น : ไม่มี
2. บัญชีหลัก
- ค่า Spread เริ่มต้น : 0.2 Pips
- Leverage : 1:200
- จำกัดแพลตฟอร์มการเทรด
- ค่าคอมมิชชั่น : $40
3. บัญชีปลอดค่าธรรมเนียม
- ค่า Spread เริ่มต้น : 1.6 Pips
- Leverage : 1:200
- จำกัดตราสาร : 26
- จำกัดแพลตฟอร์มการเทรด
- ค่าคอมมิชชั่น : ไม่มี
4. บัญชีพรีเมียม
- ค่า Spread เริ่มต้น : 0.8 Pips
- Leverage : 1:200
- จำกัดแพลตฟอร์มการเทรด
- ค่าคอมมิชชั่น : ไม่มี
- ฝากขั้นต่ำ : $20,000
5. บัญชีหลักพรีเมียม
- ค่า Spread เริ่มต้น : 0.2 Pips
- Leverage : 1:200
- จำกัดแพลตฟอร์มการเทรด
- ค่าคอมมิชชั่น : $35
วิธีการเปิดบัญชีของ OANDA มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
- สมัครเพื่อเปิดบัญชีซื้อขายสด โดยในการสมัคร ผู้สมัครต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี
- ฝากเงินเข้าบัญชีของคุณ
- ทำการซื้อ-ขาย ซึ่งการซื้อขายครั้งแรก เทรดเดอร์ต้องใช้บัญชีของ OANDA ในการฝากถอน-ถอนเงิน และในกรณีที่มีการฝากถอนมากกว่า $9,000 (หรือจำนวนเงินที่เทียบเท่ากัน) จำเป็นต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม เช่น หนังสือเดินทางและใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารปัจจุบัน หรือเอกสารอื่น ๆ
OANDA มีช่องทางการฝากถอน ดังนี้
- Skrill
- Neteller
- Mobile Banking
ผู้ใช้สามารถใช้บริการฝากถอนเงินผ่านช่องทาง Mobile Banking หรือบัตรเดบิตอื่น ๆ โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการฝากถอนจากผู้ให้บริการเอง และหากมีการฝากถอนเงินมากกว่า $9,000 จะต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม ส่วนเงินฝากขั้นต่ำทั่วไปจะขึ้นอยู่กับบัญชีที่ท่านใช้บริการครับ
OANDA มีการเก็บค่าธรรมเนียมที่นอกเหนือจากค่าสเปรด คือ ค่าคอมมิชชันในบางประเภทบัญชี ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับโบรกเกอร์อื่น ๆ และค่าธรรมเนียมในการถือออเดอร์ข้ามคืน (Swap) สำหรับสถานะซื้อขายที่เปิดค้างไว้ ณ เวลา 17.00 น. ตามเขตเวลาตะวันออก
OANDA มีตราสารที่สามารถซื้อขายได้ ดังนี้
- Forex
- ดัชนี
- โลหะ
- หุ้น
- สินค้าโภคภัณฑ์
- สกุลเงินดิจิทัล
OANDA มีแพลตฟอร์มการซื้อขาย คือ MetaTrader4, MetaTrader5 และ fxTrade
OANDA มีการสนับสนุนลูกค้าผ่าน E-mail เพียงช่องทางเดียว โดยให้บริการ 24/5 เท่านั้นครับ ซึ่งจากการใช้งาน พบว่า หากต้องการคุยกับเจ้าหน้าที่จะติดต่อค่อนข้างยากมาก อีกทั้ง ยังใช้เวลานานในการตอบ ทำให้ปัญหาหรือข้อสงสัยใด ๆ ใช้เวลาในการติดต่อสอบถามนานมากครับ และที่สำคัญคือ ไม่มี Support ไทยครับ ดังนั้น หากท่านต้องการใช้บริการโบรกเกอร์ดังกล่าวก็ควรพิจารณาถึงประเด็นนี้ด้วยครับ
___________________________________
หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม สามารถติดตาม ThaiForexReview
ติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดการลงทุนได้ที่ : News
อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ : Blogs
รีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยม : Top Brokers