List of content

    Momentum Indicator กลยุทธ์การเทรด Forex ตามโมเมนตัมด้วยอินดิเคเตอร์ยอดนิยม


    Momentum Indicator กลยุทธ์การเทรด Forex ตามโมเมนตัม

    สำหรับ Momentum Indicator ถือเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้แก่เทรดเดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Momentum Indicator ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์การเทรดแบบ Momentum trading ได้เช่นกัน ในบทความนี้ Thaiforexreview จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Momentum Indicator ที่ช่วยตรวจสอบสภาวะตลาดและการแกว่งตัวของราคาสินทรัพย์ จะมีอินดิเคเตอร์ตัวใดบ้างที่ได้รับความนิยมไปศึกษาและทำความเข้าใจกันในบทความนี้ครับ

     

    Momentum Indicator คือ ? 

    Momentum Indicator คือ อินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดการแกว่งของราคา ณ ช่วงเวลานั้น เมื่อตลาดมีสภาวะ Overbought หรือ Oversold ซึ่ง Momentum Indicator จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถประเมินความแข็งแกร่งและทิศทางของแนวโน้มราคาสินทรัพย์ปัจจุบัน รวมไปถึงจุดกลับตัวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตครับ

     

    สูตรการคำนวณ Momentum Indicator

    Momentum Indicator สามารถคำนวณด้วยสมการดังต่อไปนี้ 

    Momentum = ราคาแท่งเทียนปัจจุบัน (x) / ราคาแท่งเทียนก่อนหน้า ( i-x ) X 100

     

    เมื่อแทนค่าด้วย

    ราคาแท่งเทียนปัจจุบัน (x) คือ ราคาปิดแท่งเทียนปัจจุบัน

    ราคาแท่งเทียนก่อนหน้า (i-x) คือ ราคาปิดแท่งเทียนก่อนหน้านั้น

     

    Momentum Indicator บอกอะไรบ้าง ?

    Momentum Indicator ใช้บอกแนวโน้มทิศทางราคา

    Momentum Indicator ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์สภาวะ Overbought และ Oversold ณ ช่วงเวลานั้นได้ ซึ่งมีส่วนช่วยให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์แนวโน้มของทิศทางราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เช่นกันครับ ยกตัวอย่างเช่น หากตลาดเกิดสภาวะ Oversold ทำให้เริ่มมีแรงซื้อเข้ามาแทนที่แรงขาย ส่งผลให้ราคาเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามแรงซื้อครับ 

    Momentum Indicator ใช้บอกสัญญาณ Divergence

    สัญญาณ Divergence หมายถึง "สัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มราคาสินทรัพย์" ซึ่ง Indicator ประเภท Momentum สามารถระบุสัญญาณ Divergence ให้เทรดเดอร์ทราบและเตรียมตัวหาจุดทำกำไรจากการเกิดสัญญาณ โดย Divergence สามารถที่จะแบ่งออกได้ 2 สัญญาณดังนี้ครับ

    1. Bearish Divergence สัญญาราคากลับตัวเป็นเทรนด์ขาลง

    ในกรณีที่ราคาสินทรัพย์มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ค่าจาก Momentum มีการปรับตัวในทิศทางที่สวนทางกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนทิศทางแนวโน้มเป็นเทรนด์ขาลงครับ

    2. Bullish Divergence สัญญาราคากลับตัวเป็นเทรนด์ขาขึ้น

    ในกรณีที่ราคาสินทรัพย์มีการปรับตัวลดลง แต่ค่าจาก Momentum มีการปรับตัวในทิศทางที่สูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บอกถึงราคาสินทรัพย์ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนทิศทางแนวโน้มเป็นเทรนด์ขาขึ้นครับ

     

    Momentum Indicator ที่คนนิยมใช้มีอะไรบ้าง ?

    Momentum Indicator ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เทรดเดอร์นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาด Forex มีความผันผวนของราคาสูงส่งผลให้เกิดการแกว่งตัวของราคาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทรดเดอร์จะอาศัยการอ่านค่าจาก Momentum Indicator เมื่อเกิดการผันผวนของราคาสินทรัพย์และเข้าทำกำไรนั่นเอง และในบทความนี้ Thaiforexreview ขอแนะนำ Momentum Indicator ยอดนิยมมาทั้ง 4 ตัวดังนี้ครับ

    1. Relative Strength Index : RSI
    2. Moving Average : MA
    3. Commodity Channel Index : CCI
    4. Stochastics Oscillator

     

    Momentum Indicator : Relative Strength Index (RSI) 

    Relative Strength Index (RSI) เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคาสินทรัพย์เมื่อตลาดมีสภาวะการซื้อและการขายที่มากเกินไป (Overbought & Oversold) เพื่อใช้บอกสัญญาณแนวโน้มเทรนด์ของตลาดว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง นอกจากนี้ยังช่วยให้เทรดเดอร์สามารถประเมินจุดซื้อจุดขายจากระดับการซื้อและขายของตลาด ณ ช่วงเวลานั้น โดยมีค่าตั้งแต่ 0-100 ครับ

    สูตรการคำนวณ Relative Strength Index (RSI) 

    RSI = 100 - (100 /1 + RS)

    โดยที่ RS = ค่าเฉลี่ยราคาของวันที่ราคาปรับขึ้นในช่วง 'N' วัน / ค่าเฉลี่ยราคาของวันที่เป็นขาลง 'N' วัน

    • หาก RSI มีค่าต่ำกว่า 30 แสดงว่า สินทรัพย์นั้นเกิด “ภาวะขายมากเกินไป” หรือ “Oversold” เทรดเดอร์อาจจะพิจารณาหาจุดเข้าซื้อ

    • หาก RSI มีค่าสูงกว่า 70 แสดงว่า สินทรัพย์นั้นเกิด “ภาวะซื้อเกินไป” หรือ “Overbought” เทรดเดอร์อาจจะพิจารณาหาจุดขาย

    Overbought ภาวะการซื้อที่มากเกินไป เมื่อตัวเลข RSI ขึ้นไปเหนือระดับ 70 จะถือว่าราคาเกิดภาวะ Overbought และอาจจะเกิดการกลับตัวลงไปได้
    Oversold ภาวะการขายที่มากเกินไป เมื่อตัวเลข RSI ลงไปต่ำกว่าระดับ 30 จะถือว่าราคาเกิดภาวะ Oversold และอาจจะเกิดการกลับตัวขึ้นไปได้

     

    ตัวอย่างการใช้ Relative Strength Index (RSI) กับการเทรด Forex 

    ตัวอย่างการใช้ Relative Strength Index (RSI) กับการเทรด Forex 

    จากรูปเทรดเดอร์จะเห็นได้ว่า กราฟของคู่สกุลเงิน EUR/USD เกิดสภาวะ Oversold ในช่วงราคา 1.08664 USD ซึ่งตีความได้ว่าราคาของสกุลเงิน USD จะถูกลงในช่วงนี้เนื่องจากมีการเทขายเป็นจำนวนมาก เทรดเดอร์สามารถใช้จุดนี้ในการ “พิจารณาหาจุดเข้าซื้อ” ได้ หลังจากนั้นจะเห็นว่ากราฟมีการพุ่งขึ้นเป็น 1.1448 USD และเส้น RSI มีค่าเกิน 70 ซึ่งอยู่ในสภาวะ Overbought มีความหมายว่าราคาของสกุลเงิน USD จะสูงขึ้นเนื่องจากมีการเข้าซื้อเป็นจำนวนมาก เทรดเดอร์สามารถใช้จุดนี้ในการหา “จุดขาย” เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรครับ

     

    Momentum Indicator : Moving Average (MA)

    Moving Average (MA) เป็นอินดิเคเตอร์เส้นเฉลี่ยการเคลื่อนที่ของแนวโน้มราคาสินทรัพย์ ซึ่งอินดิเคเตอร์ประเภทนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถดูแนวโน้มของราคาในขณะนั้น แนวโน้มสัญญาณการซื้อขาย Crossover และใช้ในการหาแนวรับ-แนวต้าน 

    ประเภทของ Moving Average (MA)

    1. Exponential Moving Average (EMA) 

    EMA เป็นการคำนวณแนวโน้มเส้นค่าเฉลี่ยของราคาปิดในแต่ละวัน โดยให้ค่าน้ำหนักการคำนวณมากที่สุดอยู่กับ “ราคาปิดล่าสุด” ซึ่งกราฟแบบ EMA จะเกิดสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มได้เร็วที่สุด แต่ก็อาจเกิดสัญญาณหลอกง่ายเช่นกันครับ

    2. Simple Moving Average (SMA)

    SMA เป็นการคำนวณแนวโน้มเส้นค่าเฉลี่ยของราคาปิดในแต่ละวันโดยให้ค่าน้ำหนักการคำนวณเท่ากันทั้งหมด ซึ่งกราฟแบบ SMA จะเกิดสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มได้ช้าแต่โอกาสเกิดสัญญาณหลอกน้อยกว่าครับ

    ตัวอย่างการใช้ Moving Average (MA) กับการเทรด Forex

    ตัวอย่างการใช้ Moving Average (MA) กับการเทรด Forex

    Moving Average สามารถช่วยให้เทรดเดอร์ระบุแนวรับและแนวต้านได้ง่ายและช่วยให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มทิศทางราคาได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทรดเดอร์สามารถใช้เส้นกราฟจากอินดิเคเตอร์ได้ทั้งแบบ EMA และ SMA ขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดของแต่ละคน โดยจะต้องคำนึงถึงจุดสำคัญดังนี้ 

    สัญญาณแนวโน้มขาขึ้นจากการทะลุเส้นแนวต้าน MA

    เมื่อกราฟแท่งเทียนของสินทรัพย์มีการทะลุเส้นกราฟ MA ขึ้นไป อาจตีความได้ว่าในอนาคตแนวโน้มของราคาสินทรัพย์จะเป็นขาขึ้นหรือ Uptrend โดยเทรดเดอร์อาจจะลองปรับกลยุทธ์การเทรดเป็นการเปิดออเดอร์ Buy เพื่อทำกำไรจากตลาดขาขึ้นครับ

    สัญญาณแนวโน้มขาลงจากการทะลุเส้นแนวรับ MA

    เมื่อกราฟแท่งเทียนของสินทรัพย์มีการทะลุเส้นกราฟ MA ลงมา อาจตีความได้ว่าในอนาคตแนวโน้มของราคาสินทรัพย์จะเป็นขาลงหรือ Downtrend โดยเทรดเดอร์อาจจะลองปรับกลยุทธ์การเทรดเป็นการเปิดออเดอร์ Sell เพื่อทำกำไรจากตลาดขาลงครับ

     

    Momentum Indicator : Commodity Channel Index (CCI)

    Commodity Channel Index (CCI) เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการวัดความแข็งแกร่งของราคาสินทรัพย์ในปัจจุบันเมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยในอดีต เพื่อใช้ระบุภาวะการซื้อเกิน (Overbought) การขายเกิน (Oversold) และช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุจุดกลับตัวหรือแนวโน้มเทรนด์ราคาได้เช่นกันครับ

    สูตรการคำนวณ Commodity Channel Index (CCI)

    CCI : Typical Price – Moving Average / 0.015 x Mean Deviation

    Typical Price = ΣPeriods(ราคาสูงสุด + ราคาต่ำสุด + ราคาปิด) / 3

    Moving Average = ΣPeriods (Typical Price) / Periods

    Mean Deviation = (ΣPeriods | Typical Price – MA |) / Periods 

    ซึ่ง Periods หมายถึง จำนวนแท่งเทียน โดยส่วนใหญ่จะใช้ที่ย้อนหลัง 20 Periods

    วิธีการอ่านค่า Commodity Channel Index (CCI)

    วิธีการอ่านค่า Commodity Channel Index (CCI)

    • Commodity Channel Index (CCI) > 100 หมายถึง เกิดแรงซื้อในตลาดมากขึ้นส่งผลให้ราคาในปัจจุบันสูงกว่าค่าเฉลี่ยเดิม เรียกว่า สภาวะการซื้อเกิน (Overbought)  

    • Commodity Channel Index (CCI) < -100 หมายถึง เกิดแรงขายในตลาดมากขึ้นส่งผลให้ราคาในปัจจุบันต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเดิม เรียกว่า สภาวะการขายเกิน (Oversold) 

    ตัวอย่างการใช้ Commodity Channel Index (CCI) กับการเทรด Forex 

    ตัวอย่างการใช้ Commodity Channel Index (CCI) กับการเทรด Forex 

    จากภาพจะเห็นได้ว่าพื้นที่สีแดงมีค่า CCI อยู่ที่ -189.37 ซึ่งมีการเกิดสภาวะ Oversold จะเห็นได้ว่าราคาของสกุลเงิน USD อยู่ที่ 1.0835 USD เทรดเดอร์อาจจะพิจารณาเตรียมเปิดออเดอร์ฝั่ง Buy เพื่อเตรียมตัวทำกำไรจากการกลับตัวของราคาสกุลเงิน USD เป็นขาขึ้น หรือพิจารณาหาจุดเข้าซื้อเพื่อให้ได้ราคาสินทรัพย์ที่ถูกที่สุดครับ 

     

    Momentum Indicator : Stochastics Oscillator (STO)

    Stochastics Oscillator (STO) เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ โดยคำนวณจากราคาปิด ณ ปัจจุบันกับช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดจากช่วงเวลาที่กำหนดโดยแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขตั้งแต่ 1-100 ซึ่ง Stochastics Oscillator สามารถระบุจุด Overbought และ Oversold ได้เช่นกันและยังช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุจุดเข้าซื้อ-ขายเพื่อทำกำไรในระยะสั้นได้อีกด้วย  

    สูตรการคำนวณ Stochastics Oscillator (STO)

    %K = [(ราคาปิดวันนี้ - ราคาต่ำสุดตามช่วงเวลาที่กำหนด) / (ราคาสูงสุด - ราคาต่ำสุดตามช่วงเวลาที่กำหนด)] X 100

    วิธีการอ่านค่า Stochastics Oscillator (STO)

    • เมื่อ %K > 80 หมายถึง ราคาสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นจากแรงซื้อที่มากขึ้นจนเกิดสภาวะการซื้อเกิน (Overbought)

    • เมื่อ %K < 20 หมายถึง ราคาสินทรัพย์ลดลงจากแรงขายที่มากขึ้นจนเกิดสภาวะการขายเกิน (Oversold)

    ตัวอย่างการใช้ Stochastics Oscillator (STO) กับการเทรด Forex

    ตัวอย่างการใช้ Stochastics Oscillator (STO) กับการเทรด Forex

    จากภาพเมื่อราคาของสกุลเงิน USD มีการเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับแนวต้านและเช่นเดียวกันกับกราฟเส้น Stochastics เกิดสภาวะ Overbought ขึ้น และมีการตัดกันระหว่างเส้น %K และ %D ซึ่งสามารถตีความได้ว่าเป็นสัญญาณการกลับตัว เพราะฉะนั้นเทรดเดอร์สามารถวางกลยุทธ์การเทรดด้วยการเปิดออเดอร์ Sell จากจุดดังกล่าว และรอสัญญาณจาก Stochastics เมื่อเกิดสภาวะ Oversold เพื่อปิดออเดอร์ทำกำไรในบริเวณดังกล่าว หรืออาจปิดออเดอร์ทำกำไรก่อนจุดตัดกันบริเวณ Oversold ได้เช่นกันครับ

     

    ข้อสังเกตเกี่ยวกับ Momentum Indicator

    สำหรับเทรดเดอร์การใช้ Momentum Indicator มีจุดสังเกตสำคัญทั้งหมด 2 จุด ซึ่งสามารถช่วยให้เทรดเดอร์สามารถปรับกลยุทธ์การเทรดเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรดังนี้ครับ

    • เมื่อราคาเกิดภาวะ Overbought มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวลง เทรดเดอร์ควรเปิดออเดอร์ Sell จึงจะได้เปรียบกว่า 

    • เมื่อราคาเกิดภาวะ Oversold มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้น เทรดเดอร์ควรเปิดออเดอร์ Buy จึงจะได้เปรียบกว่า 

     

    ข้อควรระวังในการใช้ Momentum Indicator

    อย่างที่เทรดเดอร์หลายท่านทราบกันดีว่าอินดิเคเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการลงทุนของเทรดเดอร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่ใช่เครื่องมือที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถทำกำไรได้ 100% เสมอไป แม้แต่การใช้งาน Momentum Indicator ก็อาจเกิดสัญญาณหลอกหรือสัญญาณล่าช้าได้เช่นกัน ดังนั้นแล้วเทรดเดอร์ควรที่จะใช้เครื่องมือหรืออินดิเคเตอร์ชนิดอื่นควบคู่กับอินดิเคเตอร์ประเภท Momentum เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากสัญญาณหลอกและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรจากเทรดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ

     

    Momentum Trading การเทรดด้วยโมเมนตัม คืออะไร?

    Momentum Trading หรือการเทรดโมเมนตัม คือ การเทรดที่ใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาล่าสุด ซึ่งจะช่วยระบุความแข็งแกร่งของสัญญาณที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว อย่าง Upside หรือ Downside โดยคุณสมบัติของการเทรดลักษณะนี้ จะใช้ดูความถี่ของปริมาณการซื้อขายของผู้เล่นในตลาด เพื่อช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเห็นถึงช่องว่างของราคาที่มีความผันผวนนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเก็งกำไรให้มากที่สุดนั่นเอง

    สำหรับจุดสังเกตการบ่งบอกของสัญญาณโมเมนตัมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สัญญาณ ได้แก่

    • หากราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สัญญาณบอกราคาของโมเมนตัมจะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
    • หากราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างช้า ๆ สัญญาณบอกราคาของโมเมนตัมจะลดลง

     

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Momentum Trading มีอะไรบ้าง?

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Momentum Trading สามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่

    1. ความผันผวน (Volatility)

    ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Momentum Trading ปัจจัยแรก คือ ความผันผวน เพราะเมื่อตลาดมีความผันผวนสูงมากนั้น การแกว่งตัวของราคาก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ซึ่งเทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์เทรดด้วยโมเมนตัมจะใช้ช่องว่างจากความผันผวนนี้ เข้าทำกำไรในระยะสั้นนั่นเองครับ

    2. ปริมาณการซื้อขาย (Volume)

    มาต่อกันที่ปัจจัยที่ 2 คือ ปริมาณการซื้อขาย ซึ่งถือได้ว่า เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เห็นว่า ในเวลานั้น ๆ ว่าผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่เลือกที่จะซื้อหรือขายมากกว่า และเมื่อฝั่งใดฝั่งหนึ่งมีความถี่ของปริมาณซื้อขายที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะเพิ่มโอกาสให้เกิดแนวโน้ม (Trend) ในตลาดที่ต่อเนื่องตามไปด้วย 

    3. กรอบเวลา (Timeframe)

    มาต่อกันที่ปัจจัยสุดท้าย คือ กรอบเวลา โดย Momentum Trading จะอาศัยการเคลื่อนไหวของราคาระยะสั้น ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคาจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มว่า ปริมาณการซื้อขายมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่เทรดเดอร์ Day Trade จะชื่นชอบการเข้าทำกำไรในกรอบเวลาสั้น ๆ นี้เป็นอย่างมาก

     

    Momentum Trading มีกี่ประเภท?

    ประเภทของ Momentum Trading มี 2 ประเภท ได้แก่

    • Absolute Momentum จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปรียบเทียบพฤติกรรมของตลาดในปัจจุบันกับพฤติกรรมย้อนหลังของคู่เงินใดคู่เงินหนึ่งได้อย่างแม่นยำ
    • Relative Momentum จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเปรียบเทียบพฤติกรรมของคู่เงินที่มีการซื้อขายเกิดขึ้น

     

    การนำกลยุทธ์ Momentum Trading มาใช้ในการเทรด

    เทรดเดอร์สามารถใช้กลยุทธ์โมเมนตัมเข้ามาช่วยในการเทรดได้ 2 วิธี คือ

    1. วิเคราะห์จากแนวโน้มของราคาที่มีความผันผวน
    2. อาศัยรูปแบบแท่งเทียน (Candlestick Pattern) เพื่อเป็นตัวชี้วัดสำคัญ

    อย่างไรก็ตาม การใช้แท่งเทียนเข้ามาช่วยวิเคราะห์อาจไม่สามารถการันตีโมเมนตัมของราคาได้ 100% ทำให้เทรดเดอร์ต้องอาศัยการดู Timeframe ในระยะสั้น ๆ ประกอบการเปิด-ปิดออเดอร์ด้วย


    บทความที่เกี่ยวข้องกับ Indicator เพิ่มเติม : 


    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Momentum Indicator

    Q. การใช้ Momentum Indicator ในการเทรดโมเมนตัมมีอินดิเคเตอร์ยอดนิยมตัวไหนบ้าง?

    A. Momentum Indicator ยอดนิยมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ตัว ได้แก่ RSI, Moving Average, CCI และ Stochastics Oscillator

    Q. Chande Momentum Oscillator (CMO) คืออะไร ?

    A. Chande Momentum Oscillator (CMO) คือ อินดิเคเตอร์ประเภทโมเมนตัมที่ใช้ในการวัดสภาวะ Overbought และ Oversold พัฒนาโดย Tushar Chande ในปี 1994 ซึ่ง Chande Momentum Oscillator (CMO) ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถระบุจุดเข้าซื้อและจุดขายได้ง่ายขึ้น โดยมีค่าตั้งแต่ -100 ถึง 100 ครับ

    Q. Momentum Effect คืออะไร ?

    A. Momentum Effect คือ การที่ราคาของสินทรัพย์มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ไปทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนักลงทุนมักใช้ประโยชน์จากโมเมนตัมในการซื้อขายระยะสั้นที่มุ่งหวังจะทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นครับ


     

    สรุปเกี่ยวกับ Momentum Indicator 

    จะเห็นได้ว่า Momentum Indicator ถือเป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ที่ใช้งานง่าย ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าใจสภาพตลาดและแนวโน้มราคาสินทรัพย์ได้อย่างละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน บริหารความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้แก่เทรดเดอร์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ อินดิเคเตอร์ต่าง ๆ เป็นเพียงตัวช่วยในการลงทุน ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ราคาได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น ผู้ลงทุนจึงควรใช้อินดิเคเตอร์ต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการจัดการความเสี่ยงในการลงทุนด้วยครับ 

    อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ควรรู้ก็คือ การศึกษาตลาดและกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตนเองก่อน เพราะการเทรดโดยการไม่มีความรู้ หรือการเทรดบนสัญญาณหลอกอาจทำให้เทรดเดอร์ขาดทุนมากกว่าได้กำไร ดังนั้น เทรดเดอร์ควรศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้งครับ

     


     

    ⚠️ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

     

    หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม

    สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับ Forex ได้ทางเว็บไซต์ www.thaiforexreview.com

    ติดตามความเคลื่อนไหวและการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thaiforexreview

    ติดตามข่าวสารการลงทุนและบทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ได้ที่ Forex Analysis

    อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ Blogs

    อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมได้ที่ Top Brokers

    beginner

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved