List of content

    PMI คืออะไร ? สิ่งที่เทรดเดอร์สายปัจจัยพื้นฐานต้องรู้!


    PMI คืออะไร สิ่งที่เทรดเดอร์สายปัจจัยพื้นฐานต้องรู้

    ในการเทรด Forex จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาตลาด ซึ่ง PMI ก็เป็นหนึ่งในตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อราคาตลาด แล้ว PMI คืออะไร ? ย่อมาจากอะไร ? และสำคัญต่อการลงทุนอย่างไร ? โดยทางทีมงาน Thaiforexreview จะพาไปทำความรู้จักกับ PMI กันให้มากขึ้นในบทความนี้กันครับ

     

    PMI คืออะไร ?

    PMI (Purchasing Managers Index) คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นดัชนีทางเศรษฐกิจที่จัดทำขึ้นเพื่อวัดแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ โดย PMI จะถูกคำนวณจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers) ในบริษัทเอกชนเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตและบริการ เพื่อสะท้อนถึงแนวโน้มการขยายตัวหรือหดตัวของเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นครับ

     

    ทำไม PMI จึงสำคัญกับการลงทุน ?

    PMI เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและการเติบโตของ GDP ซึ่งทางธนาคารกลางใช้ข้อมูล PMI เป็นส่วนหนึ่งในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายการเงิน โดยไม่ได้วิเคราะห์แค่ค่าดัชนี แต่วิเคราะห์องค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ที่จะช่วยบอกถึงภาวะเงินเฟ้อ เช่น อัตราการส่งมอบและราคาที่จ่าย

    อย่างไรก็ตาม PMI ไม่ได้สะท้อนผลแค่ภาคการผลิต แต่สะท้อนถึงเศรษฐกิจโดยภาพรวมด้วยครับ ดังนั้น PMI จึงเป็นดัชนีสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถบริหารการลงทุนได้ เพราะหากค่าดัชนี PMI ลดลง อาจบ่งบอกถึงสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว นักลงทุนอาจลดความเสี่ยงการลงทุนในตลาดของประเทศนั้น และไปลงทุนในประเทศที่มี PMI สูงกว่าได้ครับ

     

    ใครเป็นคนจัดทำดัชนี PMI ?

    การจัดทำดัชนี PMI ไม่ได้จัดทำโดยองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่ร่วมกันจัดทำสถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ โดยในปัจจุบันมี 2 สถาบันหลักที่จัดทำดัชนี PMI คือ

    • ISM (Institute For Supply Management) คือ สถาบันที่จัดทำดัชนี PMI ในสหรัฐฯ  

    • S&P Global คือ บริษัทด้านข้อมูลทางการเงินและวิเคราะห์เศรษฐกิจระดับโลกที่จัดทำดัชนี PMI ใน 30 กว่าประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยครับ

    อย่างไรก็ตาม มีประเทศที่มีภาครัฐร่วมจัดทำกับภาคเอกชนด้วยครับนั่นคือ ประเทศจีน ที่มีการจัดทำจากทั้งภาครัฐและเอกชนโดยสถาบัน Caixin (Caixin Media Company Ltd) ครับ


    📌
    ปัจจุบัน IHS Markit ได้ควบรวมกิจการกับ S&P Global Market Intelligence และได้ดำเนินการภายใต้ชื่อ S&P Global Market Intelligence ครับ

     

    PMI มีกี่ประเภท ?

    PMI แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

    • Manufacturing PMI คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคผลิต
    • Non-Manufacturing หรือ Services PMI คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ

     

    5 ตัวแปร PMI

    ตัวแปร PMI


    ดัชนี PMI คำนวณจากผลสำรวจความคิดเห็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ โดยใช้ข้อมูลกิจกรรมหลัก 5 ด้านในการคำนวณ ซึ่งข้อมูลในแต่ละด้านมีค่าน้ำหนักที่นำมาใช้ในการคำนวณแต่ละตัวไม่เท่ากัน ดังนี้

    • ยอดคำสั่งซื้อใหม่ (New Order) ให้ค่าน้ำหนัก 0.30
    • ปริมาณสินค้าคงคลัง (Inventory levels) ให้ค่าน้ำหนัก 0.10
    • ปริมาณการผลิต (Production) ให้ค่าน้ำหนัก 0.25
    • การส่งสินค้าซัพพลาย (Supplier deliveries) ให้ค่าน้ำหนัก 0.15
    • การจ้างงาน (Employment) ให้ค่าน้ำหนัก 0.20

    โดยการสำรวจข้อมูลทั้ง 5 ด้านนี้ จะทำให้คาดการณ์ถึงแนวโน้มการขยายตัวหรือหดตัวของเศรษฐกิจได้ โดยหากยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้นและการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น ดัชนี PMI ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นครับ

     

    สูตรการคำนวณดัชนี PMI

    การคำนวณดัชนี PMI (Purchasing Managers Index) เพื่อสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจจากข้อมูลภาคการผลิตและปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ซึ่งดัชนีนี้จะสะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในรูปแบบตัวเลขที่มีช่วงตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยใช้สูตรคำนวณดัชนี ดังนี้

    สูตรการคำนวณดัชนี PMI


    ดัชนี PMI มีการสำรวจ รวบรวมและเผยแพร่ในทุกเดือนโดยผู้จัดทำดัชนี PMI อย่าง ISM, IHS Markit Group, Caixin และ S&P Global ที่จัดทำดัชนี PMI ในไทยด้วยครับ

     

    ค่า PMI บ่งบอกอะไร ?

    PMI ตีความอย่างไร


    ค่าดัชนี PMI สะท้อนถึงแนวโน้มการขยายตัวหรือหดตัวของเศรษฐกิจ โดยมีการเผยแพร่เป็นประจำทุกเดือน ทำให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่า GDP ที่จัดทำเป็นรายไตรมาส นักลงทุนจึงสามารถใช้ดัชนี PMI ในการวิเคราะห์และวางแผนการลงทุน เพื่อให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งค่าของดัชนี PMI มีการตีความหมาย ดังนี้

    • ค่า PMI มากกว่า 50 แสดงว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัว

    • ค่า PMI เท่ากับ 50 แสดงว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มคงที่หรือทรงตัว

    • ค่า PMI น้อยกว่า 50 แสดงว่า เศรษฐกิจมีแนวโน้มหดตัว

    ทั้งนี้ สภาวะของเศรษฐกิจก็ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่นักลงทุนคาดการณ์เอาไว้ด้วย หากตัวเลขจริงออกมาดีกว่าหรือเท่ากับที่คาดการณ์ก็จะถือว่าเศรษฐกิจขยายตัว และหากว่าตัวเลขจริงออกมาน้อยกว่าที่คาดการณ์ก็จะถือว่าเศรษฐกิจหดตัวนั่นเอง

     

    ตัวเลขคาดการณ์ค่า PMI (Flash PMI)

    Flash PMI คือ ค่าดัชนีที่เผยแพร่ก่อนค่าดัชนี PMI ฉบับเต็ม เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจได้รวดเร็วขึ้น โดย Flash PMI สามารถแบ่งประเภทออกเป็น Flash Manufacturing PMI และ Flash Services PMI 

    Flash Manufacturing PMI คืออะไร ?

    Flash Manufacturing PMI คือ ค่าประมาณการล่วงหน้าของดัชนี PMI ภาคการผลิต (Manufacturing PMI) โดยคำนวณจาก 85% ถึง 90% ของข้อมูลผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนนั้น ซึ่งจะเผยแพร่ก่อนข้อมูลฉบับเต็ม เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมภาคการผลิตได้รวดเร็วขึ้น

    Flash Services PMI คืออะไร ?

    Flash Services PMI คือ ค่าประมาณการล่วงหน้าของดัชนี PMI ภาคการบริการ (Services PMI) โดยคำนวณจาก 85% ถึง 90% ของข้อมูลผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนนั้น ซึ่งจะเผยแพร่ก่อนข้อมูลฉบับเต็ม เพื่อช่วยให้นักลงทุนสามารถวิเคราะห์แนวโน้มอุตสาหกรรมภาคบริการได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมภาคบริการมีสัดส่วนสูงใน GDP ของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นสกุลเงินหลักอย่างสหรัฐฯ ครับ

    นักลงทุนสามารถติดตาม Flash PMI ทั้ง Flash Manufacturing PMI และ Flash Services PMI ได้ที่ Forex Factory ครับ

     

    การใช้ค่า PMI ในการวางแผนการลงทุน

    ใช้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ

    ดัชนี PMI บอกถึงแนวโน้มการขยายตัวหรือหดตัวของเศรษฐกิจ โดยนักลงทุนสามารถใช้ค่าดัชนีเพื่อประเมินสภาวะและเลือกลงทุนกับอุตสาหกรรมที่ดีต่อสภาวะเศรษฐกิจนั้นได้ เช่น

    • หาก PMI ภาคการผลิต สูงกว่า 50 แสดงว่าภาคอุตสาหกรรมกำลังเติบโต ซึ่งอาจเป็นโอกาสในการลงทุนในกลุ่มพลังงานหรือกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างเช่น USOIL

    • หาก PMI ภาคบริการ สูงกว่า 50 แสดงว่าภาคบริการขยายตัว ซึ่งอาจเป็นโอกาสในการลงทุนโดยซื้อสกุลเงินของประเทศนั้น และขายสกุลเงินของประเทศที่ PMI อ่อนแอกว่า

    อย่างไรก็ตาม การลงทุนควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมร่วมด้วยก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีขึ้นและช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วยครับ

    ใช้เปรียบเทียบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ

    นักลงทุนสามารถใช้ค่าดัชนี PMI เปรียบเทียบแนวโน้มเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และเลือกลงทุนในประเทศที่มี PMI สูงกว่า แล้วชะลอการลงทุนในประเทศที่มี PMI ต่ำ เนื่องจาก PMI สูง มักจะมีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีกว่าครับ

    ใช้วิเคราะห์ผลประกอบการของบริษัท

    ดัชนี PMI สามารถช่วยประเมินผลประกอบการของบริษัทในภาคการผลิตและภาคบริการได้ เช่น หาก PMI ภาคการผลิตลดลง อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทในอุตสาหกรรมภาคการผลิต ซึ่งนักลงทุนอาจต้องพิจารณาเพื่อขายหรือชะลอการลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้อง

     

    ข้อดีและข้อเสียของดัชนี PMI 

     

    ข้อดีของดัชนี PMI

    • การเผยแพร่ดัชนี PMI เป็นรายเดือน ช่วยให้นักลงทุนสามารถติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจได้ทันท่วงที
    • สามารถใช้คาดการณ์ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ เช่น GDP และรายงานภาคการผลิตของภาครัฐ
    • แสดงการเปลี่ยนแปลงของผลสำรวจเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพื่อช่วยให้วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจได้ง่ายขึ้น
    • วิธีการที่ใช้วัดเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกประเทศ ทำให้สามารถเปรียบเทียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ข้อเสียของดัชนี PMI

    • เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการมีอคติส่วนบุคคล
    • รายงานในบางภูมิภาคของสหรัฐฯ ออกมาก่อนรายงาน PMI ระดับประเทศและยังมีค่าสูง ซึ่งอาจทำให้การประกาศ PMI ระดับประเทศ มีผลกระทบไม่เท่าเดิมได้

     

    ราคาทองคำ กับ PMI

    ราคาทองคำ กับ PMI


    ราคาทองคำมีการเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าดัชนี PMI โดยค่าดัชนี PMI เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ซึ่งหาก PMI สูง เศรษฐกิจมีแนวโน้มดี นักลงทุนมักจะไม่สนใจสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเช่นทองคำ แต่หาก PMI ต่ำ เศรษฐกิจมีแนวโน้มตกต่ำ ความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยจะเพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำสูงขึ้น

    ทั้งนี้ ราคาทองคำไม่ได้รับผลกระทบจากดัชนี PMI เพียงอย่างเดียว แต่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ๆ อีกด้วย อย่างเช่น GDP, การจ้างงาน, อัตราเงินเฟ้อและดัชนีความเชื่อมั่น อย่างไรก็ตาม การลงทุนในทองคำต้องติดตามอุปสงค์และอุปทาน, นโยบายทางการเงินและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ส่งต่อเศรษฐกิจโลก

     

    ค่าเงินดอลลาร์กับ PMI

     ค่าเงินดอลลาร์ กับ PMI


    ค่าเงินดอลลาร์ กับดัชนี PMI มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกัน โดยหาก PMI สูงขึ้น เศรษฐกิจจะขยายตัวขึ้น และส่งผลให้ดอลลาร์มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่หากดัชนี PMI ลดลง เศรษฐกิจจะหดตัวลง และส่งผลให้ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าครับ

    อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์ไม่ได้รับผลกระทบแค่จากตัวเลข PMI อย่างเดียว แต่ยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่นด้วย เช่น อัตราดอกเบี้ยของ Fed และสภาวะเศรษฐกิจโลก ดังนั้นนักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วยก่อนลงทุน เพื่อให้การวิเคราะห์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


    บทความที่เกี่ยวข้องกับ CPI


     

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PMI

    Manufacturing PMI คืออะไร ?

    A : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต เป็นการเก็บข้อมูล PMI ในภาคการผลิต เช่น โรงงานต่าง ๆ, ยอดสั่งซื้อ, ภาวะการจ้างงาน และปริมาณการผลิต นำมาคำนวณเพื่อวัดว่ากิจกรรมเกี่ยวกับการผลิตมีการหดหรือขยายตัวมากน้อยแค่ไหน

    PMI Forex คืออะไร ? ย่อมาจากอะไร ?

    A : PMI ย่อมาจาก Purchasing Managers Index คือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นดัชนีทางเศรษฐกิจที่จัดทำขึ้นเพื่อวัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคการผลิตและบริการ โดย PMI จะถูกคำนวณจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers) เกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตและบริการ

    ISM Services PMI คืออะไร ?

    A : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ ที่มาจากสถาบัน ISM ของสหรัฐฯ

    ISM Manufacturing PMI คืออะไร ?

    A : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดการซื้อภาคผลิต ที่มาจากสถาบัน ISM ของสหรัฐฯ

     

    สรุป PMI คืออะไร ?

    PMI (Phurchasing Managers Index) เป็นดัชนีทางเศรษฐกิจที่สำคัญของนักลงทุน นักวิเคราะห์ และหน่วยงานทางเศรษฐกิจ เนื่องจาก PMI สามารถเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนอกจาก PMI ภาคการผลิตและบริการแล้ว ยังมี PMI ประเภทอื่น ๆ ที่ได้รับการจัดทำขึ้น เช่น PMI ภาคก่อสร้าง และ PMI ภาคค้าปลีก ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาวิธีการคำนวณและวิธีตีความค่าของ PMI แต่ละประเภทอย่างละเอียด เพื่อให้สามารถเข้าใจและตีความค่า PMI ได้อย่างถูกต้อง

    อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์แนวโน้มตลาดควรนำปัจจัยอื่น ๆ มาวิเคราะห์ร่วมด้วย เช่น อัตราดอกเบี้ยของ Fed และสภาวะเศรษฐกิจโลก เพื่อให้การวิเคราะห์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและช่วยให้วางแผนจัดการความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้นด้วยครับ

     


    ⚠️ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

    หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม

    สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับ Forex ได้ทางเว็บไซต์ www.thaiforexreview.com

    ติดตามความเคลื่อนไหวและการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thaiforexreview

    ติดตามข่าวสารการลงทุนและบทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ได้ที่ Forex Analysis

    อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ Blogs

    อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมได้ที่ Top Brokers

    forex
    investing
    beginner

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    tfn
    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    ความรู้ Forex

    Forex

    Gold

    Beginner

    Investing

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved