List of content

    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร? ใช้ทำอะไร? สิ่งพื้นฐานที่เทรดเดอร์ต้องรู้ หากอยากอยู่รอดในตลาด Forex


    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร? ใช้ทำอะไร? สิ่งพื้นฐานที่เทรดเดอร์ต้องรู้ หากอยากอยู่รอดในตลาด Forex

    ในการเทรด Forex นั้น สิ่งที่เทรดเดอร์ทุกคนควรที่จะ “ต้องรู้” และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งหลังจากที่เข้ามาในตลาด Forex นั่นก็คือความรู้พื้นฐานอย่าง แนวรับ-แนวต้าน เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงหลักการต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่ของราคาในตลาด Forex แล้วแนวรับ-แนวต้านคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร แล้วมีความสำคัญกับการเทรด Forex มากน้อยแค่ไหน วันนี้ Thaiforexreview จะพามารู้จักกับแนวรับ-แนวต้านให้มากขึ้นกันครับ

    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร?

    แนวรับ-แนวต้าน คืออะไร

    แนวรับ-แนวต้าน หรือ Support & Resistance คือ ช่วงของราคาที่ถูกมองว่าเป็นจุดนัยสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของราคา ซึ่งระดับราคาที่มีความสำคัญเหล่านั้น จะถูกสะท้อนไปเป็นอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) 

    แนวรับ (Support Zone) คือ ช่วงระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน เป็นราคาที่เคยลงไปทำไว้ต่ำกว่าปัจจุบัน ซึ่งเมื่อราคาลงไปถึงที่ระดับดังกล่าว นักลงทุนจะมองว่าระดับราคานั้น เป็นระดับราคาที่ “น่าเข้าซื้อ” ถ้านักลงทุนหลาย ๆ คนมองเหมือนกัน จนทำให้เกิดอุปสงค์ (Demand) จำนวนมาก อาจทำให้ราคาเกิดการกลับตัวขึ้นไปนั่นเอง 

    แนวรับ support

     

    แนวต้าน (Resistance Zone) คือ ช่วงระดับราคาที่สูงกว่าราคาปัจจุบัน เป็นราคาที่เคยขึ้นไปทำไว้สูงกว่าในอดีต ซึ่งเมื่อราคาขึ้นไปถึงระดับดังกล่าว นักลงทุนจะมองว่าระดับราคานั้น เป็นระดับราคาที่ “น่าเทขาย” ถ้านักลงทุนหลาย ๆ คนมองเหมือนกัน จนทำให้เกิดอุปทาน (Supply) จำนวนมาก และอาจทำให้ราคาเกิดการกลับตัวลงไปนั่นเอง

    แนวต้าน resistance

     

    ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “แนวรับ” และ “แนวต้าน” เป็นคำเชิงจิตวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ราคาทองคำร่วงมาที่บริเวณ $1,800 แล้วราคาก็กลับตัวขึ้นไป แต่เนื่องจากว่าคุณไม่ได้ดูกราฟในเวลานั้น ทำให้พลาดโอกาสในการเข้าซื้อที่ราคา $1,800 แต่ในเวลาต่อมาราคาก็กลับมาที่บริเวณ 1,800 อีกครั้ง โดยครั้งนี้คุณนั่งเฝ้ากราฟอย่างจดจ่อ และ “มีความรู้สึก” ว่าไม่อยากที่จะพลาดโอกาสเหมือนครั้งที่แล้ว ตรงคำว่า “ความรู้สึก” ก็เปรียบได้กับอารมณ์ของนักลงทุนหลาย ๆ คนรวมกัน ซึ่งกลายมาเป็นตัวที่กำหนดอุปสงค์-อุปทาน และเป็นเหตุผลที่ทำให้ราคาเกิดการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงนั่นเองครับ

     

    รูปแบบของแนวรับ-แนวต้าน?

    รูปแบบของแนวรับ-แนวต้านนั้นสามารถที่จะมองได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับการมองของนักลงทุนเอง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้ 

    1. จุดสูงสุด-จุดต่ำสุด (Highest-Lowest)

    แนวรับ-แนวต้านที่เกิดจุดสูงสุด-จุดต่ำสุด คือระดับราคาที่ในอดีตเคยขึ้นหรือลงไปเป็นจุดที่ต่ำที่สุดหรือสูงที่สุด ซึ่งจะกลายมาเป็นแนวรับ-แนวต้านในเชิงจิตวิทยา ที่จะมีระดับอุปสงค์-อุปทานรออยู่เป็นจำนวนมาก และมีโอกาสที่ราคาจะกลับตัวสูง

    แนวรับ-แนวต้าน จุดสูงสุด จุดต่ำสุด

    2. เส้นแนวโน้ม (Trend Line)

    จุดแนวรับ-แนวต้านที่เกิดจากการวาดเส้น Trend Line ของเทรดเดอร์ เป็นการวาดเส้นเพื่อที่จะดูการกระทำของราคาเมื่อลงไปในระดับแนวรับ-แนวต้านที่เราวาดเอาไว้ เช่น การกลับตัว หรือการ Break Out เป็นต้น 

    แนวรับ-แนวต้าน trend line

    3. ตัวเลขกลม ๆ (Round Number)

    ตัวเลขกลม ๆ เป็นแนวรับ-แนวต้านในเชิงจิตวิทยา เป็นแนวรับ-แนวต้านที่มีโอกาสในการกลับตัวสูง เนื่องจากว่านักลงทุนส่วนใหญ่มักจะทำการเข้าซื้อหรือขายที่ระดับราคาที่มีตัวเลขกลม ๆ นั่นเองครับ

    แนวรับ-แนวต้าน ตัวเลขกลมๆ

    4. สัดส่วนฟิโบนาชี (Fibonacci Ratio)

    แนวรับ-แนวต้านจากระดับของ Fibonacci นั้น เป็นหลักการเดียวที่ไม่ได้อยู่ในหลักของจิตวิทยา และไม่สามารถที่จะอธิบายได้ว่านำมาใช้วัดระดับแนวรับ-แนวต้านได้อย่างไร รู้เพียงแค่ว่า Fibonacci จะใช้ดูในกรณีที่ราคาเกิดการพักตัว หรือจบการย่อตัวที่ระดับใดระดับหนึ่งของ Fibonacci Ratio เท่านั้น ซึ่งสามารถพิจารณาว่าจุดนั้นเป็นแนวรับ-แนวต้านได้เช่นกัน

    แนวรับ-แนวต้าน fibonacci

     

    แนวรับ-แนวต้านใช้งานอย่างไร?

    หลังจากที่ได้ทราบว่าแนวรับ-แนวต้าน คือระดับราคาที่นักลงทุนมองว่าเป็นจุดที่ “น่าเข้าซื้อขาย” กันแล้ว จะพาทุกคนมารู้จักว่า แนวรับ-แนวต้านใช้งานอย่างไร? 

    อย่างที่ทราบกันดีว่า แนวรับ-แนวต้าน เป็นระดับราคาที่มีความสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดอุปสงค์-อุปทานขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการเกิดอุปสงค์-อุปทานนั้น ทำให้เกิดการกลับตัวหรือการพักตัวของราคาที่จุดแนวรับ-แนวต้านดังกล่าว โดยสามารถที่จะนำเทคนิคต่างๆ เข้ามาช่วยในการยืนยันการกลับตัวได้ เช่น รูปแบบของแท่งเทียน (Price Action), รูปแบบของกราฟ (Chart Pattern) และ Divergence 

    นอกจากการใช้แนวรับ-แนวต้านเป็นจุดกลับตัวแล้ว ยังสามารถที่จะนำไปใช้สังเกตการกระทำของราคาได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ใช้ดูการเกิด Break Out ที่แนวรับ-แนวต้าน เพื่อที่จะดูว่าราคาจะสามารถไปต่อได้หรือไม่

    ตัวอย่างการนำแนวรับ-แนวต้านไปใช้ในการเทรด Forex 

    ตัวอย่างการนำแนวรับ-แนวต้านไปใช้ในการเทรด Forex 

    จากรูปกราฟข้างต้น จะเห็นว่า ราคาที่มีการย่ำอยู่กับที่ มักจะเป็นจุดเดียวกับที่ราคาเคยขึ้นหรือลงไปในอดีต โดยสามารถที่จะอธิบายแนวรับ-แนวต้านตามแต่ละจุดได้ ดังนี้

    • แนวต้านที่วงกลมสีเหลือง : แนวต้านที่วงกลมสีเหลือง เป็นแนวต้านในกรอบแนวโน้มขาลง และเป็นแนวต้านใน Fibonacci ที่ระดับ 0.786 โดยได้เกิดสัญญาณการกลับตัวอย่าง Bearish Divergence ส่งผลให้ราคาร่วงลง
    • แนวต้านที่วงกลมสีฟ้า : เป็นแนวต้านที่เกิดจากการพักตัวของราคาระหว่างทาง โดยการพักตัวของราคาดังกล่าวนั้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า จุดนั้นในอดีตเป็นจุดที่มีปริมาณการซื้อที่เยอะ แต่ไม่พอที่จะดันราคากลับขึ้นไปได้ หรือก็คือมีแรงขายมากกว่าซื้อ ดังนั้น จึงกลายเป็นจุดที่ได้เปรียบในการ Sell และส่งผลให้ราคาร่วงลงหลังจากราคาได้กลับขึ้นมาที่บริเวณดังกล่าวอีกครั้ง
    • แนวรับที่วงกลมสีแดง : แนวรับที่จุดนี้เป็นแนวรับที่ราคาเคยลงไปทำไว้ในอดีต และทำให้มีการสะสมคำสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เมื่อราคากลับลงมาที่บริเวณดังกล่าวอีกครั้ง ทำให้ราคามีการกลับตัวขึ้นไปทุกครั้งที่ลงมาแตะบริเวณแนวรับดังกล่าว

    ข้อควรระวังในการใช้แนวรับ-แนวต้าน

    การใช้แนวรับ-แนวต้านมีข้อควรระวังที่เทรดเดอร์มือใหม่ควรรู้เอาไว้ด้วยเช่นกัน 

    1. แนวรับ-แนวต้านเป็นเพียงระดับราคาที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์เพียงเท่านั้น ราคาจะเกิดการกลับตัวหรือไม่ เราไม่สามารถกำหนดได้ ถ้าเงินทุนไม่มากพอหรือถ้าคุณไม่ใช่เจ้าตลาด คำว่ามากพอในที่นี้ คือ ระดับหมื่นล้านขึ้นไปนะครับ! ดังนั้น คุณทำได้เพียงสังเกตการกระทำของราคาเท่านั้น

    2. การใช้แนวรับ-แนวต้านเทรดในช่วงข่าวออกไม่เคยใช้ได้ผล เนื่องจากว่าในช่วงเวลาที่ข่าวออกนั้น ราคาสินทรัพย์ในตลาดจะเกิดความผันผวนอย่างมาก และสามารถที่จะวิ่งทะลุแนวรับ-แนวต้านในเชิงจิตวิทยาได้ทุกอัน โดยแนะนำว่าให้เช็คข่าวเพื่อเลี่ยงการเทรดในช่วงเวลาที่ข่าวออกนั่นเองครับ

     

    Indicator สำหรับดูแนวรับ-แนวต้าน

    Indicator ที่สามารถดูแนวรับ-แนวต้านที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้หลัก ๆ มีดังนี้

    1. Trend Line 

    Trend Line เป็นเครื่องมือที่นิยมที่สุดในการใช้ดูระดับแนวรับ-แนวต้านในตลาด เนื่องจากว่ามีรูปแบบการใช้งานที่ง่ายและอิสระ โดยเทรดเดอร์สามารถนำมาวาดลงในกราฟในจุดที่ราคามีการย่ำอยู่กับที่ เพื่อกำหนดเป็นแนวรับ-แนวต้านตามที่เราคาดการณ์ได้ทุกรูปแบบ 

    Indicator สำหรับดูแนวรับ-แนวต้าน Trend line 

    2. Moving Average 

    Moving Average (MA) เป็นอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้ในการดูแนวรับ-แนวต้านในแนวโน้มได้อย่างดี โดยสามารถกำหนดระยะให้กับ MA เพื่อปรับให้เข้ากับลักษณะการเทรดของเทรดเดอร์ได้อย่างอิสระ โดยระยะที่นิยมจะมี 9, 10, 20, 25, 50, 100 และ 200 

    Indicator สำหรับดูแนวรับ-แนวต้าน Moving Average 

    3. Bollinger Bands

    Bollinger Bands เป็นอินดิเคเตอร์ที่นิยมพอ ๆ กับ MA เนื่องจากตัวอินดิเคเตอร์ตัวนี้ให้กรอบแนวรับ-แนวต้านมาให้ ถือว่าเป็นอินดิเคเตอร์ที่สะดวกมาก ๆ ตัวหนึ่ง

    Indicator สำหรับดูแนวรับ-แนวต้าน Bollinger Bands

     

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแนวรับ-แนวต้าน

    แนวรับ-แนวต้าน ภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร ?

    แนวรับ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Support ส่วนแนวต้าน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Resistance

    วิธีการดูแนวรับ-แนวต้านใน Forex ?

    แนวรับ-แนวต้าน สามารถดูได้จากการที่ราคามีการย่ำอยู่ในบริเวณเดิมซ้ำกันหลาย ๆ รอบ หากว่า ราคามีการย่ำอยู่ในฝั่งตลาดขาขึ้นเรียกว่า แนวต้าน หากว่าราคามีการย่ำอยู่ในฝั่งตลาดขาลงเรียกว่า แนวรับ

     

    สรุปแนวรับ-แนวต้าน

    แนวรับ-แนวต้าน เป็นจุดราคาที่เทรดเดอร์ระบุขึ้นมาจากความคิดในเชิงจิตวิทยาที่ว่า ราคาเคยลงมาที่จุดนี้ หรือเคยขึ้นมาที่จุดนี้ เลยไม่อยากพลาดโอกาสในการซื้อหรือขายเพื่อทำกำไร และหากว่าจุดไหนมีคนสนใจเป็นจำนวนมาก จะทำให้จุดนั้นกลายเป็นจุดพักตัว และกลับตัวในที่สุด และสามารถนำมาใช้ในการดูการกระทำของราคาได้ อย่างการเกิด Break Out ได้อีกด้วย โดยรูปแบบของแนวรับ-แนวต้านนั้นเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ 

    อย่างไรก็ตาม แนวรับ-แนวต้านไม่ได้มีไว้เพื่อกำหนดจุดกลับตัว แต่มีเอาไว้เพื่อสังเกตการกระทำของราคาเป็นหลัก เมื่อราคาได้มาถึงบริเวณแนวรับหรือแนวต้าน ไม่ได้แปลว่าจะเกิดการกลับตัวขึ้นทุกจุดที่เทรดเดอร์กำหนดเอาไว้ เทรดเดอร์จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนที่ครอบคลุม รวมไปถึงการวางความเสี่ยงที่ตนยอมรับได้ เพื่อป้องกันการขาดทุนที่มากจนเกินไป โดยแนะนำให้ทำการศึกษาระบบ Down Theory, Smart Money Concept (SMC), Price Action และ Chart Pattern เพื่อที่จะได้เข้าใจตลาดและพัฒนาการระบบการเทรดให้ดียิ่งขึ้นครับ

    Source : admiralmarkets, Finnomena, Fxtoday, fxbrokerscam


    ⚠️ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

     

    หากคุณมีความสนใจในเรื่องของการลงทุนเหมือนกันกับผม

    สามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับ Forex ได้ทางเว็บไซต์ www.thaiforexreview.com

    ติดตามความเคลื่อนไหวและการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก Thaiforexreview

    ติดตามข่าวสารการลงทุนและบทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์ได้ที่ Forex Analysis

    อ่านบทความสาระดี ๆ ได้ที่ Blogs

    อ่านรีวิวโบรกเกอร์ยอดนิยมได้ที่ Top Brokers

    forex
    beginner

    แนะนำโบรกเกอร์สำหรับคุณ

    ข้อจำกัดด้านความปลอดภัย

    Thaiforexreview.com จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใด ๆ
    ที่เกิดจากการพึ่งพาข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข่าวการตลาด การวิเคราะห์ สัญญาณการซื้อขาย และบทวิจารณ์โบรกเกอร์ Forex ข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์นี้อาจไม่เป็นปัจจุบัน และการวิเคราะห์เป็นความคิดเห็น ของ Thaiforexreview.com ไม่มีการการันตีใด ๆ

    การซื้อขายสกุลเงินในตลาด Forex มีความเสี่ยงสูง ก่อนตัดสินใจซื้อขาย Forex หรือใช้เครื่องมือทางการเงินอื่น ๆ ควรพิจารณาวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เรามุ่งเน้นเพื่อเสนอข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับโบรกเกอร์ทั้งหมดที่เราตรวจสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด

    © Copyright Thaiforexreview 2023. All rights reserved